แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนยุติธรรมสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

วิชิต แย้มยิ้ม

บทคัดย่อ

                      การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทกระบวนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านการสนับสนุนเงินช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนศึกษาแนวทางการบริหาร
จัดการเพื่อสร้างความเติบโตและความยั่งยืนของกองทุนยุติธรรมสำหรับประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการศึกษาทางเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนยุติธรรม รวมไปถึงนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านกฎหมาย ด้านอาชญาวิทยา และการบริหารงานยุติธรรม ผลการศึกษาพบว่า กองทุนยุติธรรมควรพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างความเติบโตของเงินกองทุนด้วยการนำเงินบางส่วนจากดอกเบี้ยหรือการส่งเบี้ยประกันภัยของคนทั้งประเทศเข้าสมทบ การกำหนดให้มีการหักค่าจ้างทนายความของคนที่มีฐานะดีและประสบกับคดีที่มีมูลค่าทางคดีสูงบางส่วนตามอัตราที่กำหนด การหักสมทบเงินค่าปรับจากการกระทำผิดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง และการมีนโยบายปล่อยสินเชื่อสำหรับการอำนวยความยุติธรรมแบบถ้วนหน้า สำหรับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับกองทุนยุติธรรมนั้น ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วยการส่งเสริมการสร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนรวมที่เข็มแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร จวงตระกูล และ ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2554). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ รูปแบบและแนวทางการกระจายอำนาจการพิจารณาสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนยุติธรรมสู่สำนักงานยุติธรรมจังหวัด. สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2558). โครงการศึกษาประเมินผลส าเร็จกองทุนยุติธรรม. กรุงเทพฯ:กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.

ณรงค์ ใจหาญ, รณกรณ์ บุญมี, กนกวรรณ ชาติสุวรรณ และ ลี่ แสงสันติธรรม. (2556). รายงานวิจัยข้อเสนอแนะทางนโยบาย เรื่อง กองทุนยุติธรรม : ข้อมูล และบทวิเคราะห์ผลการทำงาน
และประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอันเนื่องมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ คอนราด อาเดนาวร์.

ธัญสุดา ไพบูลย์ (2557). กองทุนยุติธรรมเพื่อการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม. รายงานส่วนบุคคลโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 6. กรุงเทพฯ:สถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร..

ปกป้อง ศรีสนิท. (2555). การปฏิรูปกองทุนยุติธรรม. กรุงเทพฯ: เปนไท.

สราวุธ ไสยกิจ. (2556). กลไกการรับรองสิทธิในความยุติธรรมภายใต้กระทรวงยุติธรรมกรณีกองทุนยุติธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_____. (2007). Internation Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR). Bangkok,Thailand: National Human Rights Commission of Thailand.

_____. (2013). United Nations Principles and Guidelines on Access to Legal Aid in Criminal Justice Systems. New York: UNODC.

Cappelletti, Mauro and Bryant Garth (1978). "Access to Justice: the Newest Wave in the Worldwide Movement to Make Rights Effective," 27 Buffalo Law Review 181.

Chirstopher Hodges, J. P. (2012). Litigation Funding: Status and Issues. UK: University of Lincoln.

Rhode, D. L. (2003). Pro Bono in Principle and in Practice. California: Standford Law School.