การศึกษาคุณสมบัติทางแสงของเส้นใยสังเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงโพลาไรซ์

Main Article Content

กัณฐิกา กาบมาลา

บทคัดย่อ

                     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางแสงของเส้นใยสังเคราะห์ สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลในการเปรียบเทียบเพื่อระบุชนิดหรือประเภทของเส้นใยโดยใช้ลักษณะทางกายภาพในการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยทดลองศึกษาเส้นใยที่พบมากในประเทศไทยจำนวน 10 ชนิด
                     ผลการวิจัย สรุปได้ว่าเส้นใยสังเคราะห์แต่ละประเภทแสดงค่า Birefringence, ค่า Retardation Wavelength และ Interference Color ของเส้นใยที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถแยกแยะได้ตั้งแต่เบื้องต้น ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบโพลาไรซ์ โดยแสงที่ปรากฏนั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเส้นใย ถ้าพบวัตถุพยานประเภทเส้นใยในที่เกิดเหตุ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในขั้นตอนการสืบสวนในคดีที่ไม่พบผู้ต้องสงสัยในที่เกิดเหตุโดยสามารถนำกล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ไปตรวจสอบเบื้องต้นได้ เนื่องจากมีความสะดวก น่าเชื่อถือ รวดเร็ว และที่ส าคัญไม่ทำลายชิ้นส่วนตัวอย่าง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะน ามาใช้ในด้านงานนิติวิทยาศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญชลี ศิริมงคล. (2552). การศึกษาทางจุลภาคของรอยฉีกขาดบนผ้าที่เกิดจากเครื่องมือชนิดต่างๆ.วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จารุวรรณ์ อัมพฤกษ์.(2555). การวิเคราะห์เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ในงานทางนิติวิทยาศาสตร์ โดย Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FT-IR). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ และคณะ. (2546). นิติวิทยาศาสตร์ 2 เพื่อการสืบสวนสอบสวน. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: ทีซีจี พริ้นติ้ง.

Braun, R.D. (1987). Introduction to Instrument Analysis. New York: McGraw-Hill Book.

Petraco, Nicholas. (2000). Color Atlas and Manual of Microscopy for Criminalists and Conservator. New York: CRC Press.

Wheeler, B.P., Wilson, L.J. (2008).Practical Forensic Microscopy A Laboratory Manual. England: Wiley-Blackwell Book.