บทบาทของงานนิติโบราณคดีและนิติมานุษยวิทยาในการสืบสวนอาชญากรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ประเภทคดีต่างๆ ตั้งแต่ คดีอาชญากรรมธรรมดา หรือคดีอาชญากรรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หรือคดีความขัดแย้งภายในหรือระหว่างประเทศ หรือในคดีแพ่ง หรือกรณีภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หรือการสืบสวนกรณีคดีบุคคลสูญหาย ที่มีความจำเป็นต้องมีการดำเนินการค้นหา สำรวจ ขุดกู้ศพหรือโครงกระดูกตลอดจนพยานวัตถุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจสถานที่เกิดเหตุเพื่อเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ โดยที่งานนิติโบราณคดีนั้น สามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการสืบสวน โดยใช้หลักการและเทคนิคทางโบราณคดีเบื้องต้นสำหรับ สำรวจ ค้นหาและอธิบายเหตุการณ์ในอดีตผ่านพยานหลักฐาน เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านกระบวนการยุติธรรม โดยใช้เทคนิคทางการสำรวจทางธรณีวิทยาและภาพถ่ายช่วยในการขุดค้นอย่างระมัดระวัง โดยจะต้องมีการจดบันทึกและเก็บรวบรวมรักษาทุกสิ่งที่พบในทุกระดับชั้นดิน เช่น เศษสี เส้นผม เสื้อผ้า เป็นต้น โดยที่สีและชั้นดินอาจจะถูกนำมาใช้ในการสืบสวนด้วย
ส่วนงานนิติมานุษยวิทยานั้น ก็สามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการสืบสวน ในการประเมินสภาพศพ พยาธิสภาพก่อนเสียชีวิต (Ante-Mortem) ความผิดปกติต่างๆ และช่วยในการวิเคราะห์ศพร่วมกับแพทย์นิติเวชภายหลังเสียชีวิต (Post-Mortem) ดังนั้นจึงควรที่จะต้องนำเอาองค์ความรู้ทางด้านนิติโบราณคดีและนิติมานุษยวิทยา เข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินงานสืบสวนคดี
อาชญากรรมที่เกิดขึ้น เพื่อให้การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานมีความรัดกุมถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เพื่อนำไปผ่านกระบวนการในการสอบสวน เพื่อให้ข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ได้มานั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นพยานหลักฐานต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
สิรินธร (องค์กรมหาชน), ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน.
ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล. (2548). หลักการสืบสวนคดีอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.
เอ็ดเวิร์ด ดับเบิลยู คิลแลม. (2533). การค้นหาซากศพมนุษย์ [The detection of human remains] (ศูนย์การแปล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,ผู้แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ:ม.ป.ท.
(ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1990).
Ivana Wolff. (2013, May 27-31). Pathology applied in forensic anthropology. In Khunying Porntip Rojanasunan (Chair), Couse on Forensic Anthropology, Identification of Human Remains and Disaster Victim Identification.Organized by Central Institute of Forensic Science Ministry of Justice.
Mercedes Salado-Puerto and Luis Fondebrider. (2013, May 27-31). The development of skill in human identification. In Khunying Porntip Rojanasunan (Chair), Couse on Forensic
Anthropology, Identification of Human Remains and Disaster Victim Identification. Organized by Central Institute of Forensic Science Ministry of Justice.