การปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงบนแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่ระยะเวลาต่างกัน โดยวิธีปัดผงฝุ่นดำ

Main Article Content

ดารณี เลยะกุล
ณิช วงศ์ส่องจ้า
ณรงค์ กุลนิเทศ

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงที่ประทับบนแผ่นโลหะอลูมิเนียมในช่วงระยะเวลาเก็บรักษาที่แตกต่างกันโดยวิธีการปัดด้วยผงฝุ่นดำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยทำการเก็บรอยประทับบนแผ่นอลูมิเนียมที่ประทับลายนิ้วมือจากนิ้วหัวแม่มือขวาของอาสาสมัคร จำนวน 3 คน และเก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ ณ อุณหภูมิห้อง กำหนดการเก็บรักษาลายนิ้วมือที่ประทับไว้ที่ระยะเวลาแตกต่างกัน คือ 1 วัน 3 วัน 7 วัน 10 วัน และ 14 วัน และทำการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงด้วยวิธีปัดด้วยผงฝุ่นดำ ทำการตรวจพิสูจน์คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงโดยการนับจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษด้วยเครื่องตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ (AFIS) และยืนยันผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำการวิเคราะห์ผลคุณภาพรอยลายนิ้วมือทางสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


                 ผลการวิจัย พบว่า รอยลายนิ้วมือแฝงบนแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่มีการเก็บรักษาที่ระยะเวลา 10 วัน และทำการตรวจเก็บด้วยวิธีปัดด้วยผงฝุ่นดำให้คุณภาพของลายนิ้วมือแฝงดีที่สุด พบจำนวนจุดสำคัญพิเศษมากกว่าตัวอย่างลายนิ้วมือแฝงที่เก็บรักษาที่ระยะเวลาอื่น ๆ และเมื่อเปรียบเทียบการปรากฎขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนแผ่นโลหะอลูมิเนียมโดยวิธีปัดด้วยผงฝุ่นดำจำแนกตามช่วงเวลา พบว่า ระยะเวลาการเก็บรักษารอยลายนิ้วมือแฝงที่แตกต่างกัน ไม่มีผลกับคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamsuwan, A. et al. (2003). Forensic Science 2 for Criminal Investigation. 4th Edition. Bangkok: G.B.P.Center. (In Thai).

Chiamjetraroon, J. (2007). Crime Scene and Biological Material. Academic Documents for Use in Work Instruction at the Office of Police Forensic Science. (In Thai).

Chaikul, S., Mahacharoen, T., Vichuphund S. (2019). A Synthesis of Silicon Dioxide Nanoparticles for Latent Fingerprints Detection. Journal of Criminology and Forensic Science, 5(2), 25-41.

Kongkaew, N. (2019). A Comparative Study of the Appearance of Latent Fingerprint Marks on Bullet Shells in Different Relative Humidity Conditions. Journal of Criminology and Forensic Science, 5(2), 180-195.

Meechaitorn, E. (2008). A Study of Latent Fingerprints on Paper Developed with Ninhydrin. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Phathom. (In Thai).

Rimrattavichai, S. (1997). The Duration for Detecting Latent Fingerprint by Powder. Master of Science Thesis, Mahidol University, Nakhon Phathom. (In Thai).

Siamchemi. (n.d.). Aluminium. Retrieved May 2, 2019, from https://www.siamchemi.com/Aluminium. (In Thai).

Sonkunthod, C. (2007). Applying Computer Program for Fingerprint Identification. Master of Engineering Thesis, Kasetsart University, Bankok. (In Thai).

Semathong, W. (2011). The Development of Latent Fingerprint from Blood on Various Types of Paper Using Ninhydrin Techniques. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Phathom. (In Thai).

Taljinda, N. (2013). Fingerprint Detection on Thermal Paper Using Iodine Fuming, Inhydrin and 1,2 Indancedione Methods. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Phathom. (In Thai).

Thongthammachad, R. (2019). The Development of Fingerprint Powder Made from Black Rice Husk for Detecting Latent Fingerprints on Different Types of Surfaces. Journal of Criminology and Forensic Science, 5(2), 87 – 103.