ปัจจัยการเกิดอาชญากรรมทางเพศและแนวทางการป้องกันอาชญากรรม ทางเพศตามทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม

Main Article Content

สุขุมา อรุณจิต

บทคัดย่อ

                  อาชญากรรมทางเพศเป็นปัญหาสังคมที่ร้ายแรง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการเกิดอาชญากรรมทางเพศรวมถึงแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเพศตามทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม ด้วยวิธีการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยทั้งหมด 10 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการเกิดอาชญากรรมทางเพศสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านผู้กระทำผิด/คนร้าย ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ เสพยาเสพติด ได้รับสิ่งยั่วยุจากสื่อ ครอบครัวมีปัญหาหรือแตกแยก บุคลิกภาพเฉพาะ เช่น การควบคุมตนเองต่ำ ขาดความมั่นใจซึมเศร้า เก็บกด มีค่านิยมชายเป็นใหญ่ เป็นผู้ใช้ชีวิตที่เสี่ยงภัย และมีกลุ่มเพื่อนที่ยั่วยุ 2) ปัจจัยด้านเหยื่อ ได้แก่ อยู่ในภาวะเสพของมึนเมารูปร่างหน้าตาดี แต่งกายล่อแหลม ครอบครัวไม่สมบูรณ์แตกแยกห่างเหิน มีช่วงวัยอยู่ในช่วงวัยรุ่น และมีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ 3) ปัจจัยด้านโอกาส ได้แก่ ความใกล้ชิดเนื่องจากเป็นคนรู้จักสนิทสนมกัน เหตุเกิดในเวลากลางคืน–ดึก และอยู่ในสภาพแวดล้อมเสี่ยง พื้นที่เปลี่ยว ลับตาคน ส่วนข้อเสนอแนะในการป้องกันอาชญากรรมทางเพศแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนปัจจัยความเสี่ยงด้านโอกาส ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ทักษะการป้องกันตนเอง สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมทางเพศ การมีมาตรการ นโยบายตรวจตราความปลอดภัยของพื้นที่ให้มากขึ้น การอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งบูรณาการการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วน ส่วนปัจจัยความเสี่ยงด้านผู้กระทำผิด ได้แก่ สถาบันทางสังคมควรอบรมสั่งสอนขัดเกลาให้บุคคลเป็นคนดี มีความประพฤติเหมาะสม สื่อมวลชนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอสื่อต่างๆการควบคุมสื่อ การมีมาตรการหรือกฎหมายควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม ส่วนปัจจัยความเสี่ยงด้านเหยื่อ ได้แก่ หน่วยงานต่างๆ ต้องร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ ประชาชนเอง
ต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเอง จากอาชญากรรม การบรรจุความรู้เรื่องอาชญากรรมทางเพศในหลักสูตรการศึกษา และการกำหนดโครงการ กิจกรรมควรครอบคลุมการป้องกันแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการเกิดอาชญากรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สธ.พบเด็ก-ผู้หญิง' ถูกทำร้ายทุก 15 นาที ล่วงละเมิดทางเพศที่ 1. ไทยรัฐออนไลน์, http://www.thairath.co.th/content/408556, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2559

2. กองบังคับการตำรวจนครบาล 6. (2559). ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม.http://metropolicediv6.com/, สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559.

3. Ronald V. Clarke John Eck. (2003).Become a Problem Solving Crime Analyst In 55 small steps. http://www.popcenter.org/library/reading/pdfs/55stepsUK.pdf, retriveon August 19, 2016.

4. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2557). ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผู้หญิงไทย.www.researchgate.net, สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559.

5. ฉัตรทิพย์ ชูชื่นกลิ่น.(2556). สภาพครอบครัวและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้เด็กตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ : ศึกษาเฉพาะกรณีเด็กที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศที่เข้ามารับ
บริการของศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลต ารวจ. ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6. ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณีและอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2551). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระท าผิดร้ายแรงทางเพศ กรณีการข่มขืนและการโทรมหญิงของเด็กและเยาวชนชาย
ในบริบทของทฤษฎีเชิงบูรณาการ. ส านักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

7. ธนะชัย ผดุงธิติ. (2545). สื่อลามกกับผู้กระทำความผิดทางเพศ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

8. พรศิริ มูลติชัย. (2541). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีความส าคัญกับระดับความรุนแรงของการกระท าผิดทางเพศของเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงาน
ยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

9. พวงเพ็ญ ใจกว้าง. (2542). ปัจจัยทางสังคมกับการข่มขืนกระทำชำเราเด็กของผู้ต้องขังชาย : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

10. สิริพร ตั้งชัยวัฒนา. (2545). ปัจจัยทางด้านครอบครัวที่ก่อให้เกิดการกระทำทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กหญิงโดยสมาชิกในครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

11. สุวรา แก้วนุ้ยและทักษพล ธรรมรังสี. (2554). พฤติกรรมการคุกคามทางเพศในกลุ่มเด็กและเยาวชน ภายใต้อิทธิพลการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

12. สุสัณหา ยิ้มแย้ม สุจิตรา เทียนสวัสดิและสุจิตรา ชัยวุฒ. (2554). “การถูกละเมิดทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัวสตรีในสถานประกอบการ” ในวารสารสภาการพยาบาล. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1
มกราคม - มีนาคม 2554.

13. เอกภพ อินทวิวัฒน์. (2541). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงในการก่ออาชญากรรมทางเพศ ศึกษาเฉพาะผู้ต้องขังคดีข่มขืนกระทำชำเรา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
(สังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.