การศึกษาระยะร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่หลังการเบรก ของรถยนต์นั่งสาธารณะเกิน 7 ที่นั่ง

Main Article Content

สรรพวิชช์ คงคาน้อย

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่หลังการเบรกของรถยนต์นั่งสาธารณะเกิน 7 ที่นั่ง ว่ารถที่ไม่รวมน้ำหนักบรรทุกและรถที่รวมน้ำหนักบรรทุก 700 กิโลกรัม
ซึ่งทดสอบวิ่งบนถนนที่มีพื้นผิวถนนแบบคอนกรีตและพื้นผิวถนนแบบแอสฟัลต์ ในอัตราความเร็ว 60 และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะมีผลต่อระยะร่องรอยที่เกิดจากการเคลื่อนที่หลังการเบรกเพียงใด โดยการ
ทดสอบซ้ำ 3 ครั้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ยและเก็บข้อมูลที่ได้รับจากการทดสอบมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาความสัมพันธ์จากตัวแปรที่กำหนดไว้ดังกล่าว
              ผลการวิจัยพบว่า
1. ระยะร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่หลังการเบรกของรถยนต์นั่งสาธารณะเกิน 7 ที่นั่ง สามารถใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์หาอัตราความเร็วจากระยะ
ร่องรอยดังกล่าว
2. ระยะร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่หลังการเบรกของรถยนต์นั่งสาธารณะเกิน 7 ที่นั่ง มีค่าแตกต่างกันตามอัตราความเร็วและชนิดของพื้นผิวถนน โดยอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นจะมีระยะเบรก
ที่ยาวขึ้นและพื้นผิวถนนแบบคอนกรีตจะมีระยะเบรกที่น้อยกว่าบนพื้นผิวถนนแบบแอสฟัลต์
3. อัตราความเร็วและลักษณะของพื้นผิวถนนมีผลต่อระยะร่องรอยที่เกิดจากการเคลื่อนที่หลังการเบรกของรถยนต์นั่งสาธารณะเกิน 7 ที่นั่ง อย่างมีนัยสำคัญ
             ซึ่งผลการทดสอบอัตราความเร็วและลักษณะพื้นผิวถนนมีความสัมพันธ์กับระยะเบรกอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากสามารถทดสอบโดยมีตัวแปรอื่น เช่น ลักษณะของยาง สมรรถนะ
ของเบรกเพิ่มขึ้นจะทำให้ได้ผลการทดสอบที่ชัดเจนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เสวก มณีกุต.(2552). ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการรวบรวมพยานวัตถุ พยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์: ศึกษากรณี คดีจราจรทางบก.
นิติศาสตรมหาบัณฑิต นิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

2. .___. (2556). พยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ในคดีอุบัติเหตุจราจรทางบก. กรุงเทพ : กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

3. สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบกกรมการขนส่งทางบก.(2559). รายงานการศึกษากรณีการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทางถนนที่เกิดกับรถตู้โดยสารสาธารณะ ปี พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก
http://www.roadsafetycontrol.com/images/RSC%20Information/4%20Statistics/DLT/2559/7/21072559.pdf

4. อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ และคณะ (2546). นิติวิทยาศาสตร์ เพื่อการสืบสวนสอบสวน 1. กรุงเทพ :ที ซี จี พริ้นติ้ง.

5. Baker, J. Stannard. (1963). Traffic Accident Investigator’s Manual for Police. United States of America: Northwestern University.

6. Heydari, S.T., A. Hoseinzadeh, and colleagues. (2013). Epidemiological characteristics of fatal traffic accidents in Fars province, Iran: a community-based survey.
Public Health 127: 704-709.