การศึกษากระบวนการระบบพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรมไซเบอร์ ระบบพิสูจน์หลักฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษากระบวนการระบบพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรมไซเบอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพิสูจน์หลักฐาน และเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เพื่ออธิบายประสิทธิภาพการพิสูจน์หลักฐานของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Methodology)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพิสูจน์หลักฐานของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นใน
ประเทศไทยสามารถแบ่งเป็นประเด็นสําคัญ คือ 1) ปัจจัยด้านข้อกฎหมาย-ฐานความผิด-เขตอํานาจ-ใครต้องเป็นผู้รับผิด-ลักษณะพยาน 2) ปัจจัยด้านเทคนิค -เทคนิคพัฒนาต่อเนื่อง-การศึกษา-เทคนิคในการเก็บหลักฐาน 3) ปัจจัยดัานแนวทางการปฏิบัติ-การประสานแนวทางปฏิบัติระหว่าง-ตํารวจ-อัยการ-ศาล 4) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม–วัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ
2. องค์ความรู้เพื่ออธิบายประสิทธิภาพการพิสูจน์หลักฐานของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่สําคัญ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทําผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการทําธุรกรรมทางเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และกฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และกําหนดกฎของระบบการพิสูจน์
หลักฐานอาชญากรรมไซเบอร์ 4 ข้อ ได้แก่ 1) ความสมบูรณ์ของหลักฐาน 2) ระบุที่มาของหลักฐานได้ 3) บุคคลที่ดูแล หรือเก็บหลักฐานต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ และ 4) หลักฐานต้องได้รับการตรวจสอบด้วย
กระบวนการทางกฎหมาย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
2. นุชนาฎ ฟ่าแสงสรรค์. (2554). โจรไซเบอร์ กวาดเงิน 114 พันล้าน US/ปี. ค้นเมื่อวันที่
1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://news.voicetv.co.th/technology/19589.html
3. ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT แม่ฮ่องสอน. (2557). สถิติเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์.
ค้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557, จาก www.mhsict.org
4. Happyman Natchy. (2557). ผลศึกษาจากนอร์ตัน คํานวณผลเสียหายจากอาชญากรรมออนไลน์
ทั่วโลก มีมูลค่า 114 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และนับเป็นการเปิดเผยผลสํารวจของ
อาชญากรรมออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีผู้ตกเป็นเหยื่อกว่าล้านคนต่อวัน. ค้นเมื่อวันที่
1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://happytechblog.blogspot.com/2011/10/114.html