การวิเคราะห์เขม่าดินปืนบนเสื้อผ้าแต่ละชนิด โดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เขม่าดินปืนบนเสื้อผ้าหลังการยิงว่ามีความคงอยู่ของเขม่าดินปืนมากน้อยเพียงใด อาวุธปืนที่ใช้ คือ เอ็ม16 เอ1 และกระสุนปืนขนาด 5.56 มม.การเก็บรวบรวมตัวอย่างหลังยิง 15 นัด และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การทดสอบเสื้อโปโลเสื้อแจ็คเก็ต เสื้อเชิ้ตและเสื้อยืด ก่อนและหลังการซัก ทําการวิเคราะห์ตัวอย่างโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM/EDS) ในการวัดปริมาณร้อยละของแบเรียม ตะกั่ว และพลวง
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาเขม่าดินปืนบนเสื้อผ้าหลังการยิง และทําการทดสอบเสื้อผ้าก่อนและหลังการซักจะพบว่าลักษณะโครงสร้างของเสื้อแจ็คเก็ตจะพบเขม่าดินปืนหลังซักมากที่สุด และโครงสร้างของเสื้อยืดจะพบปริมาณเขม่าดินปmนหลังซักน้อยที่สุด
2) การเปรียบเทียบชนิดของเสื้อโปโล เสื้อแจ็คเก็ต เสื้อเชิ้ต และเสื้อยืด ที่ใช้ในการทดสอบเสื้อผ้าก่อนและหลังการซัก ในการวัดปริมาณร้อยละการลดลงของแบเรียม ตะกั่ว และพลวง จะพบว่าปริมาณเขม่าดินปืนของเสื้อแจ็คเก็ต ที่คงอยู่หลังการซักมากที่สุด ร้อยละ 80.23 และจะพบปริมาณเขม่าดินปืนของเสื้อเชิ้ตที่คงอยู่หลังการซักน้อยที่สุด ร้อยละ 18.15
ซึ่งผลการทดลองทั้งสองแบบนี้มีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM/EDS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับใช้ในการตรวจสอบการคงอยู่ของเขม่าดินปืนได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
scanning electron microscopy. Journal of Forensic Sciences, no. : 279 – 287.
Andrasko, J., and Pettersson,S. (1991). A simple method for collection of gunshot
residues from clothing. Journal of Forensic Science Society, no. 31: 321 – 330.
Lubor F., and Kmjec,T. (2005) .Time periods of GSR partials deposition after discharge
final results. Journal of Forensic Sciences International, no. 153: 132 – 135.
Lubor, F.,et al. (2003). Distribution of GSR particles in the surroundings of the
shooting pistal. Journal of Forensic Sciences International, no. 132: 99 – 105.
Wolten, G.M., and Nesbitt,R.S. (1980) .On the Mechanism of Gunshot Residue Particle
Formation. Journal of Forensic Science, no. 25: 533 - 545.
Zeichner, A. and Levin, N. (1995). Casework Experience of GSR Detection in Israel, on
Samples from Hands, Hair, and clothing using an Autosearch SEM/EDX
System. Journal of Forensic Sciences, no.40: 1082-1085.
Zeichner, A.et al. (2003). Vacuum Collestion of gunpowder residues from clothing
worn by shootinmg suspects, and their analysis by GC/TEA, IMS and GC/MS.
Journal of forensic Sciences, no.48: 961-972.
Zeichner, A.and Levin, N. (2003) .Collection efficiency of gunshot residue (GSR)
particles from hair and hands using double-side adhesive tape. Journal of
Forensic Sciences, no. 38: 571 – 584.
Zuzanna,B-M. andJankowicz. A. (2001) .Evaluation of the possibility of differentiation
between various types of ammunition by means of GSR examination with
SEM-EDX method. Journal of Forensic Sciences International, no. 123: 39 – 47.
Zuzanna, B-Mand Zadora, G. (2003) .Grouping of ammunition types by means of
frequencies of occurrence of GSR. Journal of Forensic Sciences International,
no. 135: 91 – 104.