การจําลองภาพอาชญากรรมเพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ1ในแนวทางด้านนิติวิทยาศาสตร์

Main Article Content

สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ

บทคัดย่อ

การจําลองภาพของอาชญากรรม โดยอ่านจากพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ มีจุดมุ่งหมายสําคัญ เพื่อให้การตรวจสถานเกิดเหตุและการอ่านสถานที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว ทําให้การติดตามคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น บางครั้งอาจถึงขั้นจับตัวผู้กระทําผิดได้ในทันที รวมถึงช่วยตอบข้อสงสัยของคดีได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักวิชาการแล้ว การจําลองภาพในสถานที่เกิดเหตุนั้น ต้องใช้ความระวัดระวังเป็นอย่างมากเนื่องจากว่า เป็นการจําลองภาพอย่างไม่เป็นทางการ มีโอกาสที่จะเกิดคลาดเคลื่อน ถ้าเป็นการอ่านพยานหลักฐานโดยที่ยังไม่ได้ มีผลการตรวจสอบอย่างครบถ้วน  เช่น รายงานผลการตรวจชันสูตรศพ หรือรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จนเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว แต่ถ้าเป็นการสร้างภาพจําลองภายหลังที่ได้ผลการตรวจสอบครบถ้วนครอบคลุมทุกด้านแล้ว ค่อยนํามาสร้างภาพจําลองนั้น ก็จะเพิ่มความถูกต้องแม่นยํามากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า เป็นการจําลองภาพอย่างเป็นทางการ เนื่องจากในสถานที่เกิดเหตุนั้น มักจะเกิดความเป็นพลวัตรหรือไม่หยุดนิ่งของพยานลักฐาน เกิดขึ้นเสมอ เช่น การรักษาสถานที่เกิดเหตุไม่ดีพอ การเก็บวัตถุพยานอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชา การเสื่อมสลาย/ปนเปื้อนของวัตถุพยานจากสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งมีผลทําให้พยานหลักฐานเกิดความเสียหายหรือถูกทําลาย จนส่งผลกระทบต่อการแปรผลพยานหลักฐานเหล่านั้นได้ อันนําไปสู่ความคลาดเคลื่อนในการจําลองภาพในสถานที่เกิดเหตุได้ ในที่สุดดังนั้น คงถึงเวลาแล้วที่นักสืบสวนคดีอาชญากรรมจะต้องควรใช้ความระมัดระวังและตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วยทุกครั้ง เมื่อต้องการสร้างภาพเหตุการณ์จําลองในสถานที่เกิดเหตุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chisum,W. Jerry and Turvey,Brent E.( 2006) .Crime Reconstruction.America : Elsevier
Academic press.

2. Chisum,W. Jerry and Turvey,Brent E. Evidence Dynamics: Locard's Exchange
Principle & Crime Reconstruction. Journal of Behavioral Profiling, January,
(2000), Vol. 1,No.1 [Online]. Available from
:http://www.profiling.org/journal/vol1_no1/jbp_ed_january2000_11.html[20
14,Dec13]

3. Lee , Henry C. (2001).Crime scene investigation. Taiwan : Central Police University Press.

4. Stuart,H. James,PaulE.Kish,T.Paulette Sutton.(2005). Principles of Bloodstain Pattern
Analysis: Theory and Practice.U.S.A.: CRC Press.

5. Turvey,Brent E.( 2005) .Criminal Profiling:An introduction to behavioral evidence
analysis.SecondEdition.Spain:Elsevier Academic press.