การประเมินผลการผลิตนายร้อยตำรวจหญิง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภารกิจ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของนายร้อยตำรวจหญิง 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนายร้อยตำรวจหญิง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และประชาชน การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม พื้นที่ที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1-9 และตำรวจสอบสวนกลาง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายร้อยตำรวจหญิงที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว รวม 138 คนและผู้ใช้บัณฑิต ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และประชาชน รวม 33 คน ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ
ผลการวิจัย พบว่า
1. การปฏิบัติงานในฐานะเป็นพนักงานสอบสวนและหน้าที่อื่น นายร้อยตำรวจหญิงได้รับมอบหมายการรับแจ้งความทั้งคดีทั่วไป และคดีเกี่ยวกับเพศ เด็กและสตรี พบข้อจำกัดด้านเพศสภาพ ได้แก่ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน กรณีเหตุเกิดกลางคืน ปัญหาด้านการยอมรับ/ความน่าเชื่อถือ และ ด้านความเสมอภาค
2. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นายร้อยตำรวจหญิงปฏิบัติงานเสร็จตามกรอบเวลาคิดเป็นร้อยละ 95 มีความรู้ความสามารถและทักษะในงาน มีความรับผิดชอบ มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ สื่อสารนุ่มนวล ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายและให้ความไว้วางใจ ได้รับการยอมรับสามารถปฏิบัติงานได้ทัดเทียมเพศชายปฏิบัติงานได้หลากหลาย และสร้างความร่วมมือกับประชาชนได้เป็นอย่างดี
3. ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของนายร้อยตำรวจหญิงจากการสำรวจเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาและประชาชนพบว่าประเด็นด้านความรู้และทักษะในงาน ความสามารถปฏิบัติงานได้ทัดเทียมเพศชาย รวมถึงบุคลิกภาพที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
สรุปผลการศึกษาได้ว่า การผลิตนายร้อยตำรวจหญิงบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ใช้บัณฑิตต้องการให้มีการผลิตนายร้อยตำรวจหญิงต่อไป เนื่องจากเห็นว่าเป็นประโยชน์ จากความรู้ความสามารถทัดเทียมชาย และเพศสภาพที่เป็นข้อได้เปรียบ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับเพศ เด็กและสตรี แต่ควรเปิดกว้างให้ปฏิบัติงานในสายงานอื่นได้ และ ควรปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เน้นทัศนคติ และแรงจูงใจในงาน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. เจนวิทย์ สิทธิวงศ์. (2555). อิทธิพลของการเรียนรู้และแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานผ่านสมรรถนะของบุคลากร บริษัทโพรเกรส ซับพอร์ท จำกัด (กลุ่มบริษัท ให้บริการสนับสนุนงานต่อเครือธนาคารกสิกรไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
3. ชัยวุฒิ เกียรติก้องกำจาย. (2557). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหญิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 4(3), 28-36.
4. พรรณณิภา เอียดช่วย. (2556). การเลือกปฏิบัติทางเพศต่อพนักงานสอบสวนหญิง ในเขตพื้นที่ภูธร ภาค 5. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
5. รัชนีวรรณ สุขเจริญดี. (2552). ความคาดหวังของประชาชนที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน สอบสวนหญิง ในเขตสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
6. สมัย มูลประการ. (2555). การสอบสวนในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศโดยพนักงานสอบสวนหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพมหานคร.
7. Simon. H. A. (1960). Administrative Behavior. New York: The McMillan.