ความน่าเชื่อถือในการนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นพยานหลักฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอ 8 ประเด็นที่เป็นพื้นฐานและมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือในการนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ซึ่งประกอบด้วย (1) ความหมายของเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (2) โครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (3) การนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นพยานหลักฐาน (4) การรับฟังพยานหลักฐานที่ดีที่สุดกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (5) การพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (6) การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (7) กฎหมายแม่แบบว่าด้วยพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และ (8) หลักเกณฑ์มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการสร้างความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลจำต้องให้ความสำคัญต่อขั้นตอนการจัดทำข้อมูลที่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล และผ่านการพิจารณาเพื่อรับรองความถูกต้องจากหน่วยงานที่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.2549 มาตรา 3 เพื่อแสดงให้เห็นว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เป็นพยานหลักฐานมีความถูกต้องแท้จริง ส่วนการที่ศาลจะเชื่อถือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้เป็นพยานหลักฐานมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลที่พิจารณาผ่านการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานนั้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. ณิชารัตน์ สุจริตวรางกูร. (2550). ความน่าเชื่อถือทางกฎหมายของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
3. ศุทธดา วัฒนวิเชียร. (2554). การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. เข้าถึงได้ จากhttps://elib.coj.go.th/Ebook/data/judge_report/jrp255 4_9_2.pdf
4. สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2553). ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2553. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอนพิเศษ 124ง หน้า 47-50.
5. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2544). พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.2544. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 118 ตอนที่ 112ก หน้า 26.
6. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124 หน้า 4-13.
7. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551). พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 125 ตอนที่ 33ก หน้า 81-86.
8. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2557). พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 73 ตอนที่ 95 หน้า 1-15.
9. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2559). พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 หน้า 598.
10. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ.2477. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนที่ 69ก หน้า 1-191.
11. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2549). พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.2549. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124 ตอนที่ 4ก หน้า 1-4.
12. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.royin.go.th/dictionary
13. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2549). รายงานการศึกษาโครงการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการทำ การใช้ และการเก็บรักษาข้อมูลเอกสารในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
14. Churchill, M.H., Mauler, D.D., McLaughlin, M.J., & Vincent, M.K. (2015). Admitting and authenticating electronic evidence in court, Including trial-like demonstrations. Retrieved September 26, 2018, from https://www.fedbar.org/Hidden-Files/2015-Federal-Litigati on-Conference-Materials/Session-5-Obtaining-and-Using-Electronic-Social-Media-E vidence.aspx?FT=.pdf
15. Duval, Y., & Mengjing, K. (2017). Digital trade facilitation: Paperless trade in regional trade agreements. ADBI working paper 747. Tokyo: Asian development bank institute.
16. Gaffney, T. (2017). The peer to peer blockchain mortgage recording system: Scraping the mortgage electronic registration system and replacing it with a system built off of a blockchain. Wake Forest Journal of Business and Intellectual Property Law, 17(3), 357-371.
17. Jesus, E.F., Chicarino, V.R.L., De Albuquerque, C.N.V., & Rocha, A.A. (2018). A survey of how to use blockchain to secure internet of things and the stalker attack. Security and Communication Networks. 20, 1-27.
18. Merryman, J.H. (1985). Thinking about the Elgin Marbles. Michigan Law Review. 83(8), 1880-1923.
19. United Nations. (1999). UNCITRAL Model law on electronic commerce with guide to enactment 1996: with additional article 5 bis as adopted in 1998. Printed in Austria: United Nations publication.