การตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนอาวุธมีดที่จมในน้ำโดยใช้ Small Particle Reagent และ Super Glue

Main Article Content

นุชนาฏ จารุรัตนวิบูลย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของลายนิ้วมือแฝงบนด้ามมีดพลาสติกกับส่วนของมีดที่เป็นโลหะที่จมอยู่ในน้ำต่างชนิดกัน ได้แก่ น้ำกร่อย และน้ำจืดโดยการตรวจเก็บด้วยวิธี Small Particle Reagent (SPR) และ วิธี Super Glue (SG) เป็นระยะเวลา 1, 7, 14, 21 และ 28 วัน ตามลำดับ โดยคุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงจะพิจารณาจากการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตรวจลายนิ้วมือแฝง ซึ่งอาศัยนับจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษที่ตรวจเก็บได้
          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงที่ตรวจเก็บจากบนด้ามมีดพลาสติก ทั้งสองวิธี   มีคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงที่ต่ำมาก จึงไม่สามารถนำมาใช้ในการทดลองลำดับต่อไปได้ ส่วนคุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงที่ตรวจเก็บได้ จากส่วนของมีดที่เป็นโลหะที่จมอยู่ในน้ำกร่อยเป็นระยะเวลา 28 วัน ตรวจเก็บด้วยวิธี SPR มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 ตรวจเก็บด้วยวิธี SG มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงที่ตรวจเก็บได้จากส่วนของมีดที่เป็นโลหะที่จมอยู่ในน้ำจืดเป็นระยะเวลา 28 วันตรวจเก็บด้วยวิธี SPR มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ตรวจเก็บด้วยวิธี SG มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 ตามลำดับ ดังนั้น การตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุที่จมในน้ำกร่อย ควรใช้วิธี SPR  ส่วนวัตถุที่จมในน้ำจืด  ควรใช้วิธี SG ตลอดช่วงระยะเวลาการทดลองเป็นเวลา 1, 7, 14, 21 และ 28 วัน สามารถตรวจหา รอยลายนิ้วมือแฝงได้ แต่คุณภาพที่ได้จะลดลงเมื่อวัตถุจมอยู่ในน้ำตัวอย่างเป็นระยะเวลาที่นานขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ปรีชญา รุ่งวิกรัยกานต์. (2559). การศึกษาระยะเวลาการคงอยู่ของลายนิ้วมือแฝงบนเคสโทรศัพท์มือถือที่จมอยู่ในน้ำโดยใช้วิธีซุปเปอร์กลู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, นครปฐม.

2. วิโรจน์ ไวยวุฒิ. (2532). นิติเวชศาสตร์ การพิสูจน์พยานหลักฐาน. ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมิดล. (อัดสำเนา).

3. สวลี ลิมป์รัชตวิชัย. (2541). การหาระยะเวลานานที่สุดที่สามารถตรวจเก็บลายนิ้วมือแฝงด้วยผงฝุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

4. สายธาร สุขเกษม. (2550). การตรวจเก็บลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวเปียกชื้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

5. เสาวภาคย์ เบียซิน. (2557). องค์ประกอบทางเคมีของลายนิ้วมือที่มีผลกระทบต่อการติดของลายนิ้วมือแฝงในประชากรไทย. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยศิลปากร. 1(4), 50-62.

6. ศิริรัตน์ เที่ยงเธียรธรรม. (2556). การปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุที่จมอยู่ในน้ำธรรมชาติโดยใช้ Small Particle Reagent และผงฝุ่นดำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

7. Castelló, A., Francés, F., and Verdú, F. (2013). Solving Underwater Crimes: Development of Latent Prints made on Submerged Objects. Science and Justice. 53, 328-331.

8. Connor,CM. (1976). Collaborative study of accelerated development of latent fingerprint images on paper by application of steam. Journal-Association of Official Analytical.