การศึกษาการทำให้ปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงโดยใช้ผงฝุ่นจากสปอร์ของเฟิร์นริบบิ้น บนพื้นผิววัสดุที่แตกต่างกัน

Main Article Content

สิตา ใช้เฮ็ง
วรธัช วิชชุวาณิชย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงด้วยผงฝุ่นจากสปอร์เฟิร์นริบบิ้น (Ophioglossum pendulum L.) และเปรียบเทียบคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวแผ่นอะลูมิเนียม กระจก และพลาสติก จากค่าเฉลี่ยจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษ (Minutiae) ที่ตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ (Mini AFIS) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝง 
          จากผลการศึกษาพบว่า ผงฝุ่นสปอร์เฟิร์นริบบิ้นสามารถทำให้รอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวทั้ง 3 ชนิดปรากฏขึ้นได้  และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยจำนวนจุดมิวนูเชีย พบว่า จำนวนจุดมิวนูเชีย (Minutiae) เฉลี่ยบนพื้นผิว แผ่นอะลูมิเนียม กระจก และพลาสติกมีค่า 76, 73 และ 29 จุดตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยจำนวนจุดมิวนูเชีย (Minutiae) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าจำนวนจุดมิวนูเชียที่ได้จากแผ่นอะลูมิเนียมและกระจกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนจุดมิวนูเชีย (Minutiae) ที่ได้จากแผ่นอะลูมิเนียมและกระจกแตกต่างกับพื้นผิวพลาสติกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมป่าไม้. (2554). เฟิร์น. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559. เข้าถึงได้จาก https://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=62:test&catid=25:theproject&Ite mid=68

2. ณัชชา แสงสว่าง. (2553). การศึกษาคุณลักษณะผงฝุ่นแม่เหล็กในการหาลายนิ้วมือ. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

3. ณัฏฐิรา สงฆ์โนนเหล็ก. (2555). การทำให้ปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่มีรูพรุนโดยใช้ผงขมิ้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม

4. ดนัย ศรีพรหมมา. (2552). ไลโคโปเดียม. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://bot.swu.ac.th/ upload/article_document/1228385345.pdf

5. พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2558). พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา. วารสารอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. 1(1), 17-22

6. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คณะนิติวิทยาศาสตร์. (2558). การป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุ. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.forensicrpca.com/data/article/pcs.pdf

7. อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ และคณะ. (2546). นิติวิทยาศาสตร์ 1 เพื่อการสอบสวน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง.

8. __________. (2546). นิติวิทยาศาสตร์ 2 เพื่อการสอบสวน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง.

9. Garg, R. K., Kumari, H., and Kaur, R. (2011). A new technique for visualization of latent fingerprints on various surfaces using powder from turmeric: A rhizomatousvherbaceousplant (Curcuma longa). Egyptian Journal of Forensic Science. 1(1), 53-57.

10. THE DNA OF SINGAPORE. (2558). Ophioglossum pendulum L.. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2559. เข้าถึงได้จาก https://lkcnhm.nus.edu.sg/dna/organisms/details/586