ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนในประเทศไทย: ศึกษากรณีมาตรการทางกฎหมายอาญากับมาตรการทางกฎหมายการคลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายทั้งในด้านมาตรการทางกฎหมายอาญาและมาตรการทางกฎหมายการคลัง ในการควบคุมอาวุธปืนของประเทศไทย ศึกษากฎหมายควบคุมอาวุธปืนของต่างประเทศและมาตรการของสหประชาชาติ ตลอดจนศึกษาความเห็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อเสนอเป็นแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาวุธปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ให้มีความเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าพระราชบัญญัติดังกล่าว มีปัญหาที่สำคัญคือ บทบัญญัติมีความไม่ชัดเจนและสิ่งประดิษฐ์ร้ายแรงที่ถูกผลิตขึ้นใหม่ยังไม่มีบทบัญญัติควบคุม รวมถึงการอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และการอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัว ตลอดจนมาตรการบังคับทางอาญาและมาตรการด้านค่าธรรมเนียมและภาษีศุลกากรกับภาษีสรรพสามิตมีความไม่เหมาะสม จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเหล่านี้ ให้มีความเหมาะสมโดย บทบัญญัติของพระราชบัญญัติจะต้องถูกต้องทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหามีความชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการที่จะมีและใช้อาวุธปืนหรือพาอาวุธปืนติดตัวเมื่อพิจารณาจากความจำเป็นของตนเอง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2555). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักการและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
3. ชลธาร วิศรุตวงศ์. (2550). การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ซิกาแรตเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ซิกาแรต.กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
4. ฐาปณี ทินทรชัย. (2553). แนวคิด หลักการ และความสำคัญของภาษีสรรพสามิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานสรรพสามิต หน่วยที่ 1-8 สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
5. นรินทร์ อยู่ดี. (2551). BB Gun ไกด์บุ๊ก. กรุงเทพฯ: ห้าบวกห้า.
6. มนัส สุวรรณรินทร์. (2559). ดุลพินิจของนายทะเบียนท้องที่ในการอนุญาตให้มีการใช้อาวุธปืน. วารสารเทศาภิบาล. 111(12), 39-43.
7. มานิตย์ จุมปา. (2551).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. ศานิต ร่างน้อย และชลธาร วิศวุตวงศ์. (2553). การบริหารงานภาษีสรรพสามิตเปรียบเทียบ. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานสรรพสามิต หน่วยที่ 9-5 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
9. สมยศ เชื้อไทย. (2561). ความรู้กฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
10. อัณณพ ชูบำรุง และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2555). อาชญาวิทยาและอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. อนุชา อินทรศร. (2559). นายอำเภอใหม่กับการลงนามเกี่ยวกับอาวุธปืน. วารสารเทศาภิบาล. 111(2), 20 – 23.