ละครดึกดำบรรพ์ : วิธีการขับร้องเพลงช้าประสมในเรื่องอิเหนา ตอนบวงสรวง

Main Article Content

นิติพงษ์ ใคร่รู้

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนต้องการนำเสนอองค์ความรู้เรื่องวิธีการขับร้องประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่องอิเหนา ตอนบวงสรวง ตามแนวทางของคุณครูสุภางค์พักตร์ แก้วกระหนก โดยละครดึกดำบรรพ์นี้ ถือกำเนิดจากเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์และสมเด็จเจ้าฟ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ปรับปรุงขึ้นใหม่จากละครโอเปร่าของตะวันตกและนำวงดนตรีรูปแบบใหม่ที่ทรงคิดไว้มาบรรเลงประกอบการแสดง ในการขับร้องประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ตอนดังกล่าว มีลักษณะการขับร้องที่มีความพิเศษ กล่าวคือ มีการขับร้องประสานเสียงในเพลงช้าประสม โดยสมเด็จเจ้าฟ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นโดยใช้หลักวิธีการประสานเสียงของดนตรีตะวันตก ให้ผู้ขับร้องต้นบทและลูกคู่ประสานเสียงกันภายใต้รูปแบบการขับร้องเพลงไทย ซึ่งลักษณะการขับร้องดังกล่าวนี้ยังไม่เคยปรากฏในการขับร้องประกอบการแสดงมาก่อน ดังนั้น ผู้ขับร้องจึงต้องเข้าใจถึงหลักและวิธีการขับร้องประสานเสียง ซึ่งเป็นการปฏิบัติระหว่างผู้ขับร้องต้นบทและผู้ขับร้องลูกคู่ เมื่อเข้าใจหลักและวิธีการแล้วจะทำให้สามารถขับร้องเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครในฉากของการกระทำพิธีบวงสรวงให้มีความความเข้มขลังและสมจริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ท้วม ประสิทธิกุล. (2529). หลักคีตศิลป์. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.].

ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). โขนภาคต้น ว่าด้วยตำนานและทฤษฎี. พระนคร : กรมศิลปากร.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2531). ศิลปละครรำ หรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ. (2531). งานวิจัยข้อมูลประวัติศาสตร์ เรื่องปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2527). ดนตรีวิจักษ์. กรุงเทพฯ : เกียรติธุรกิจ.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2552). เพลงดนตรี: จากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ถึงพระยาอนุมานราชธน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

มนตรี ตราโมท. (2531). ศัพท์สังคีต. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

มนตรี ตราโมท. (2540). การละเล่นของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน จำกัด (มหาชน).

สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2552). นาฏศิลป์และดนตรีไทย: เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 37. กรุงเทพฯ : ส่องสยาม.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2496). ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์ ฉบับสมบูรณ์: ในอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางอาจวิชาสรร (ถ้ำทอง ชัยปาณี). พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (2506ก). ชุมนุมบทละคอนและบทคอนเสิร์ต. พระนคร : ศิวพร.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (2506ข). บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงบันทึกประทานพระยาอนุมานราชธน เล่ม 5. พระนคร : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (2514). ประชุมบทคอนเสิร์ตและตาโบลวิวังต์. พระนคร : ศิวพร.

สยามเมโลดี้. (2564). อิเหนา ตอนบวงสรวง [Full] นำโดยปกรณ์ พรพิสุทธิ์, อนุชา สุมามาลย์, ธีรเดช กลิ่นจันทน์, ศิลปินกองการสังคีต. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.youtube.com/ watch?v=0TfPMrKqC_E

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2546). ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์: เวลาทางธรณีวิทยา. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566, จาก http://www.lesacenter.com

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2532). การละครไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์. (2514). สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์: ในที่ระลึกงานฉลองครบร้อยร้อยปีแห่งวันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. พระนคร : ศิวพร.