การสืบทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล

Authors

  • ประชากร ศรีสาคร มหาวิทยาลัยนครสวรรค์

Keywords:

การสืบทอดดนตรีไทย, ทักษะการบรรเลงจะเข้, คุรุกุล, ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล, Thai Music Transmission, Jakhe performance skill, Kurukulla, Chidpong Songsermvorakul

Abstract

บทคัดย่อ
       งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ร่วมกับการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลภาพ เสียง และโน้ตเพลงที่เกิดขึ้นในระหว่างชั่วโมงการเรียนการสอนวิชาเครื่องดีดไทย ซึ่งครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล เป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา โดยใช้แนวคิดของรองศาสตราจารย์พิชิต ชัยเสรี เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์กระบวนการสืบทอดโดยประยุกต์เข้ากับหลักปรัชญาการศึกษาแบบครุกุล

       จากการศึกษาพบว่าครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล ได้พัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้จากประสบการณ์ดนตรีตามอัธยาศัย และได้รับการสืบทอดเพลงเดี่ยวจะเข้ขั้นสูงจากครูระตี วิเศษสุรการ ครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล จะพิจารณาผู้รับการสืบทอดโดยดูจาก “มือและใจ” ที่พร้อม โดยแบ่งกลุ่มผู้รับการสืบทอดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักดนตรีตามอัธยาศัย 2) นักดนตรีในระบบการศึกษา การสืบทอดนั้นจะสืบทอดตามความสามารถที่มีอยู่ของผู้บรรเลง การสืบทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ได้แบ่งแบบฝึกหัดทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การฝึกดีดสายเปล่า 2) การฝึกเดินนิ้วไล่เสียงขึ้นและลง 3) การฝึกดีดไล่เสียงขึ้นและลงเป็นทำนองสั้น ๆ 4) การฝึกดีดทิงนอย 5) การฝึกดีดประยุกต์ 6) การฝึกกรอ 7) การฝึกสะบัด 8) ฝึกเพลงจระเข้หางยาว สามชั้น และลาวเสี่ยงเทียน สองชั้น โดยขั้นตอนของแบบฝึกหัดต้องผ่านการประเมินโดยครูชิดพงษ์ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้รับการสืบทอดมีทักษะการบรรเลงจะเข้ที่ดีครูชิดพงษ์ จะสืบทอดเพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว เพื่อเป็นเพลงสำหรับฝึกไล่มือ และพัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้ต่อไป

       จากการศึกษาผลงานการประพันธ์ทางจะเข้เพลงฉิ่งมุล่ง ชั้นเดียว ทางครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล พบว่า ผู้ประพันธ์เลือกใช้ทางเสียงเพียงออบนในการประดิษฐ์ทำนอง พบกลวิธีพิเศษปรากฏเพียงการดีดสะบัด 3 เสียง เท่านั้น ความโดดเด่นในการผูกสำนวนกลอน ปรากฏสำนวน “ท้า-รับ” ในวรรคตอน ปรากฏเสน่ห์ของเสียงด้วยการใช้ขีดจำกัดของสายจะเข้ครบทั้ง 3 สายอีกทั้งมีการแปรทำนองอย่างเป็นระเบียบและสัมพันธ์กันกับทำนองหลักได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีการเคลื่อนที่ของเสียงทั้งขึ้นและลงอยู่ระคนไปทั่วเพลง จึงทำให้เหมาะแก่การใช้ไล่มือ

Abstract
       This research was made to study the Jakhe performance skill transmission by Kru Chidpong Songsermvorakul. The qualitative research has been conducted in Kru Chidpong Songsermvorakul’s string instrument class room, by using the participant observation technique, interviewing, videos and sound recording, and notes which were used during teaching period. The concept of Associate Professor Pichit Chaisaree was used as a guide line to analyze this transmission’s procedures which will be applied to the Kurukulla’s educational philosophy.

       The research found the Kru Chidpong Songsermvorakul started his Jakhe performance skill development from leisure music experience and become a successor who received advance Jakhe solo piece form Master Ratee Wisetsurakarn. He accepted his successors by looking at the “Hand and Heart” of each successor. The successors can be divided into 2 groups: 1) leisure purpose and 2) educational purpose. The acknowledgement of each successor depends on his or her own capabilities. Kru Chidpong Songsermvorakul has designed 8 fingering exercise steps to teach his successors: 1) Free hand fingering (Deed Sai Plaw) 2) Way up and down passage of full-range fret fingering (Dern Nuew Lai Seing) 3) Way up and down passage of short melodies fingering 4) Alternating high and low notes (Deed Ting-Noi) 5) Applied melodies passage fingering 6) Elongated strumming (Kro) 7) Triplet technique (Sabad) and 8) Practicing the pieces of “Jorakhe Hang-Yao Sam Chan” and “Lao Seiang Tien Song Chan.” Each successor who passes all exercises will be directly evaluated by Kru Chidpong Songsermvorakul himself. The successor who passes the evaluation will have the abilities to develop their Jakhe skill, started with Ching Mulong Chan-Deao as an advance fingering exercise.

       After thoroughly study piece of Ching Mulong Chan-Deao, arranged by Kru Chidpong Songsermvorakul, the research found that Kru Chidpong used only the Phiang-Or Bon scale and special pitch triplet technique (Deed Sabad Sam Siang). The extraordinary literary style, such as “question and answer” melody lines; playing all three Jakhe’s string at its highest limitation; the harmoniously designed melody; together with the way up and down of pitches; make this song impressive and suitable for scale fingering practice.

Author Biography

ประชากร ศรีสาคร, มหาวิทยาลัยนครสวรรค์

การสืบทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล

Downloads

Published

2016-12-30

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article