วงปี่พาทย์ศิษย์เกตุคง จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • สันติ วลัยสูงเนิน Faculty of Fine and Appiled Arts, Chulalongkorn University
  • ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ Faculty of Fine and Appiled Arts, Chulalongkorn University

Keywords:

วงปี่พาทย์, ศิษย์เกตุคง, นครราชสีมา, Piphat ensembles, Piphat Ketkong, Nakhon Ratchasima province

Abstract

บทคัดย่อ

       บทความเรื่องวงปี่พาทย์ศิษย์เกตุคง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติและความเป็นมาของวงปี่พาทย์ศิษย์เกตุคง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่อดีตจนถึงในปัจจุบัน

       ผลการวิจัยพบว่า วงปี่พาทย์ศิษย์เกตุคง จังหวัดนครราชสีมานั้น ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2493 ซึ่งมีครูบุญยัง เกตุคงเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านดนตรีไทย ศิษย์คนแรกคือนายมานิต เหล็กสูงเนินนักดนตรีไทยของลิเกวิกแม่เสงี่ยม ต่อมานักดนตรีไทยชาวจังหวัดนครราชสีมาจึงเดินทางเข้ามาเป็นศิษย์ของครูบุญยัง เกตุคง รวมแล้วทั้งสิ้น 73 คน

       การรับงานแสดงดนตรีไทยนั้นจะใช้เครื่องดนตรีที่ครูบุญยัง เกตุคงท่านได้ซื้อเอาไว้ รับงานแสดงดนตรีไทยทั้งวงปี่พาทย์ไทย วงปี่พาทย์มอญ โดยมีนายชัยวัฒน์ รอสูงเนินและนายฉลอง ฝ้ายโคกสูง ทำหน้าที่โตโผ้บริหารจัดการดูแล ทั้งการติดต่อประสานงาน จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงนักดนตรี และค่าเช่าเครื่องดนตรีไทยให้ครู เอกลักษณ์ของวงปี่พาทย์ศิษย์เกตุคงก็คือนิยมบรรเลงเพลงที่ครูบุญยงค์ เกตุคงประพันธ์ อีกทั้งขนบการประพฤติการปฏิบัติตนตามแบบอย่างครูบุญยัง เกตุคง

       ปัจจุบันหลังจากที่ครูบุญยัง เกตุคง นายชัยวัฒน์ รอสูงเนินและนายฉลอง ฝ้ายโคกสูง ถึงแก่กรรมลง วงปี่พาทย์ศิษย์เกตุคงรับเฉพาะงานบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ไหว้ครู

คำสำคัญ: วงปี่พาทย์/ศิษย์เกตุคง/นครราชสีมา

Abstract

       The purpose of this research is to study the historical background of a famous Piphat ensembles in Nakhon Ratchasima province, well-known as “Piphat Ketkong”, which involves the past events since there were founded until now.

       The Piphat Ketkong” in Nakhon Ratchasima was founded in 1950 by a professional artist “Boonyang Ketkong”, an instructor who passed on knowledges of Thai traditional music to his disciples. Regarding his musical knowledge transmission via “Manit Leksungnoen”, a first disciples who is a Thai musician of “Likay Mae Sa-Ngiam”. After that, there are many Thai musicians in Nakhon Ratchasima have become KetKong’s disciples totaled 73 persons.

        Thai musical performing is held by using the musical instrument, which are mostly provided by “Boonyang Ketkong”. These are properly equipped for performing both of “Piphat Thai” and “Piphat Mon” by two musicians “Chaiwat Rosungnoen” and “Chalong Faikocksung” who are in charge of management all ensembles including collaborate and communicate with others, make a payment of allowance for all musicians, and expense of musical instrument rental. The major attraction of “Piphat Ketkong” is uniquely represented by musical performing especially the song authored by “Boonyang Ketkong”. And also, practice following the customs and manners typified by “Boonyang Ketkong”.

       Unfortunately for nowadays, the professional musicians since initial foundation including “Boonyang Ketkong”, “Chaiwat Rosungnoen” and “Chalong Faikocksung” have died. After that the “Piphat Ketkong” is still especially performing in “Nah Phat” or the ceremony that particularly hold to respect their teachers.

Downloads

Published

2016-12-30

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article