วงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี

Authors

  • สุภาพร มาสมบูรณ์ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

Keywords:

วงปี่ชวากลองแขก, การชกมวย, จังหวัดชลบุรี, Pi Java Klongkak Ensemble, Boxing, Chonburi

Abstract

บทคัดย่อ

             งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาประวัติพัฒนาการ ลักษณะของวงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี รวมถึงการปรับตัวของนักดนตรีในวงปี่ชวากลองแขกเพื่อความอยู่รอด พบว่าปัจจุบันวงปี่ชวากลองแขกประกอบการชกมวยในจังหวัดชลบุรี มีบรรเลงทั้งสนามมวยชั่วคราวและสนามมวยมาตรฐาน นักดนตรีในวงปี่ชวากลองแขกไม่ปรากฏสายการสืบทอดที่ชัดเจน นักดนตรีส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์รวมถึงคนปี่ซึ่งส่วนใหญ่ฝึกหัดเรียนรู้ด้วยตนเองและสืบทอดความรู้ต่อกันมา และประสมวงโดยการรวมตัวของนักดนตรีจากวงต่างๆ วงปี่ชวากลองแขกที่รับบรรเลงเป็นประจำในสนามมวยชั่วคราว คือวงเจริญศิลป์ส่วนสนามมวยมาตรฐาน 2 แห่งคือสนามมวยแฟร์เท็กซ์ เทพประสิทธิ์ พัทยาใต้ และ สนามมวยหน้าเมืองจำลอง พัทยาเหนือ มีวงจรัญศิลป์บรรเลงประจำ

             ปัญหารายได้และการจัดการแข่งขันการชกมวยในเชิงธุรกิจซึ่งมีคู่ชกมวยมากขึ้นทำให้นักดนตรีในวงปี่ชวากลองแขกต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งจำนวนเครื่องดนตรี ผู้บรรเลง และบทเพลง กล่าวคือเครื่องดนตรีในวงแต่เดิมประกอบด้วย ปี่ 1 เลา ฉิ่ง 1คู่ กลองแขก 1 คู่ ก็ปรับลดกลองแขกเหลือ 1 ลูกตามจำนวนคนตีกลองแขกที่เหลือเพียง 1 คน ส่วนการบรรเลงบทเพลงประกอบการชกมวย  แม้ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบเดิมคือใช้เพลงสรหม่า ประกอบการไหว้ครู ยกที่1บรรเลงเพลงแขกเจ้าเซ็น ยกที่ 5 บรรเลงเชิดช่วง 1นาทีสุดท้ายก่อนหมดยก แต่ยกที่ 2 ถึง ยกที่ 5 สามารถบรรเลงเพลงอื่นๆได้ขึ้นอยู่กับปฏิภาณไหวพริบของนักดนตรีในการนำเพลงที่ได้รับความนิยมตามยุคสมัยมาบรรเลงเพื่อให้ผู้ชมพอใจ แต่ถ้านักมวยไม่สามารถแข่งต่อได้ให้หยุดการบรรเลงแค่ในยกนั้น

 

Abstract

             This research aims to study the developmental history and characteristic of the Pi Java Klongkak ensemble accompanies boxing in Chonburi province, adaptation of the musicians in Pi Java Klongkak ensemble for survival. At the moment, found that Pi Java Klongkak ensemble accompanies Thai boxing in Chonburi has played both temporary boxing ring and standards boxing stadium. Musician in the band does not found clearly appearance line of transition. Most of the musicians are in a band as Piphat ensemble, including the Pi musician who almost learn on their own and inherit each other's knowledge. The band are mixed by combining the band of musicians from various bands. The Pi Java Klongkak ensemble accompanies Thai boxing in Chonburi are hiring to perform in a temporary boxing ring is Charoensilp. The standards boxing stadium include Fairtex Thepprasit Boxing Stadium, South Pattaya and North Pattaya Boxing Stadium in front of Minisiam (Pattaya Boxing World), a band which played regularly is Charansilp.

            The income and promotion problems in the boxing business, which raised more boxing match that affect Pi Java Klongkak ensemble to survive, a number of instruments, musicians and songs are adapted. The instruments in the ensemble originally consisted by each one instrument: Pi Java, Ching and pair of Klongkak but only play one separated drum by one drummer. The playing of accompanied boxing songs, even maintaining the origin tradition include playing Sarama accompanied Wai Kru in the round 1, Khak Jowsen in round 5,  Cherd within one minute before the time over, but play the independence songs with round 2 to round 5 based on the intelligence of the musicians in adapting the popular song to please the audience. The music perform will be stopped if the boxer could not continue the fighting in any round.

Downloads

Published

2016-07-31

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article