น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฏะ): “ศิลปินแห่งชาติ” กับ “ศิลปะไทย” ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของรัฐชาติ
Keywords:
ศิลปินแห่งชาติ, ศิลปะไทย, น. ณ ปากน้ำ, ประยูร อุลุชาฎะ, National Artist, Thai Artist, Nornapaknam, Prayoon UroochadhaAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีขึ้นเพื่อนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับบทบาทชีวิตและผลงานของ น. ณ ปากน้ำ ศิลปินแห่งชาติของไทย พบว่าผลงานของ น. ณ ปากน้ำ มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยในมิติเชิงประวัติศาสตร์และผลงานจำนวนมากก็จัดประเภทอยู่ในงานประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีที่สำคัญของไทย การเข้าไปมีส่วนร่วมต่อการถกเถียงทางวิชาการในประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานจากศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปจากการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี ด้วยวิธีการและแนวทางที่เรียบง่าย อย่างเช่นการเดินทางสำรวจตรวจสอบข้อมูลจากสถานที่ในท้องถิ่น ทำให้ผลงานเป็นที่สนใจแก่สาธารณชน โดยในช่วงที่เดินทางสำรวจนั้น น. ณ ปากน้ำ เมื่อพบเห็นสภาพของโบราณสถานและศิลปวัตถุหลายแห่งในประเทศไทย ถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้รับการดูแลรักษา ก็มักจะร้องเรียนเข้ามายังส่วนกลาง จากจุดนี้ทำให้ น. ณ ปากน้ำ มีบทบาทเป็นผู้กำหนดนิยาม จัดประเภท จำแนกแยกแยะว่า อะไรคือ “ศิลปะไทย” หรือ “ศิลปะประจำชาติ” ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เขาเห็นว่าศิลปะจำชาติ ได้แก่ ผลงานของบรรพชนที่เป็นมรดกตกทอดมาจากอดีต แต่ที่จริงแล้วการกำหนดนิยามศิลปะดังกล่าวเกิดขึ้นและดำรงอยู่ภายใต้เงื่อนไขประวัติศาสตร์ของรัฐชาติและตัวเขาก็ได้รับยกย่องเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การศึกษาเรื่องราวบทบาทชีวิตและผลงานของ น. ณ ปากน้ำ จึงมีคุณูปการเผยให้เห็นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับความคิดทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการตีความและใช้ประโยชน์จากประวัติศาสตร์สมัยโบราณในสังคมวัฒนธรรมของรัฐชาติไทย
Abstract
This paper presenting the result of the life and works of Nornapaknam as the “National Artist” of Thailand. Found that the works of Nornapaknam has the important to create the Thai identity in history. And many the works of Nornapaknam classify in the importance of the Thai Art history and Archeology. The participationto the academic debates in the historical problems. By used evidence from the ruins and antiquesfor fills the missing from the studies of History and Archeology in Thailand. With simple method and guidelines, in the example of the expeditions data from local places. And in that travel, Nornapaknam when saw the condition of the ruins and antiques in local Thailand do not care by the state and peoples. He is often into public complaints for the peoples as return it to get attention. He has commented that the art of nation; including works of antecedents that are inherited from the past. But the fact that the definition of art such place and under the historical existence of a nation state. And he was praised a "national artist" under such conditions. This study about the life and works of Nornapaknam will has contribution to reveals the relationship between the arts and the historical ideas about the interpretation and used the ancient history in the Thai nation state cultural society.
Downloads
Additional Files
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น