กลวิธีการเดี่ยวปี่คลาริเน็ตบีแฟลตเพลงเชิดนอกของพันโทวิชิต โห้ไทย
Keywords:
คลาริเน็ต, เดี่ยว, เชิดนอก, Clarinet, Cheodnok, SoloAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องกลวิธีการเดี่ยวปี่คลาริเน็ตบีแฟลตเพลงเชิดนอกของพันโทวิชิต โห้ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สังคีตลักษณ์ และ ลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับกลวิธีการเดี่ยวปี่คลาริเน็ตบีแฟลตเพลงเชิดนอกของพันโทวิชิต โห้ไทย ซึ่งประกอบไปด้วยจับสามจับในแต่ละจับจะมีรูปแบบจังหวะสองรูปแบบคือจังหวะลอยและจังหวะคงที่ โดยในจับที่สาม จะมีการบรรเลงในการเป่าเลียนแบบคำพูดคือ “จับตัวให้ติด ตีให้แทบตาย”
ผลการวิจัยพบว่าว่าการเดี่ยวปี่คลาริเน็ตบีแฟลตเพลงเชิดนอกของพันโทวิชิต โห้ไทยนั้น ท่านได้ศึกษาจากโน้ตที่บันทึกทางของท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล โดยอาศัยเค้าโครงมาจากการเดี่ยวปี่เพลงเชิดนอก ซึ่งพันโทวิชิต โห้ไทย ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย-โยธวาทิต) ได้เพิ่มเติมเม็ดพราย และกลวิธีพิเศษต่างๆ เพื่อเพิ่มความไพเราะของบทเพลงให้มากยิ่งขึ้น
จากการวิเคราะห์การใช้กลวิธีพิเศษพบว่ามีทั้งหมด ๕ รูปแบบ คือการสะบัด การเอื้อนเสียงขึ้นลง การพรมนิ้ว การขยี้ การตีนิ้ว และยังมีการเพิ่มระดับช่วงเสียง และความยาวของห้อง ทำให้บทเพลงมีลีลาในการบรรเลงที่ดุดันในรูปแบบทำนองเก็บ และมีลีลาที่ลุ่มลึกในช่วงทำนองของการลอย ในการเพิ่มเติมกลวิธีพิเศษ ระดับเสียง และความยาวของห้องเพลง การเพิ่มเติมดังกล่าวจะเพิ่มเติมในช่วงจังหวะลอยเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในจังหวะควบคุมจะบรรเลงตามโน้ตที่บันทึกไว้และพบว่าการบรรเลงจะอยู่ใน สองระดับเสียงคือทางเพียงออล่างและทางเพียงออบน โดยใช้ทางเพียงออล่างมากกว่า
จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของครูโบราณที่สามารถนำเครื่องดนตรีจากต่างวัฒนธรรมมาบรรเลงในวิถีของตนเองได้อย่างลงตัว และยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถของพันโทวิชิต โห้ไทย ที่สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาเหล่านั้นเพื่อให้คงอยู่สืบไป
Abstract
This research, “Performance Techniques for the Bb Clarinet in the Cheodnok Solo by Lt. Col. Vichit Hothai,” aims to study the context, characteristics of the musical composition and specific features of the performance techniques for the Bb Clarinet in Cheodnok Solo by Lt. Col. Vichit Hothai. It was found that the Cheodnok song consists of three groups, each of which has two patterns—a floating rhythm and a controlled rhythm. In the third group, the clarinet is played in imitation of spoken words in a way that can be explained by the Thai saying, “Arresting the body and beating it up until it almost dies.”
It was also found that in the solo performance of the Choednok song on the Bb clarinet, Lt. Col. Vichit Hothai studied musical scores that had recorded the musical style of Master Changwang Tua Patayakosol and were was based on his solo performance of the Cheodnok song on the oboe. Lt. Col. Vichit Hothai, a National Artist in Performing Arts (Thai music –the marching band) added artistic devices and special techniques in order to make the music more melodious.
The study found that five special techniques were used—flipping, drawing out the voice high and low, evenly and softly pressing the fingers on the keys of the clarinet, pressing hard on the keys and tapping the fingers on the keys, increasing the level of the sound range and the length of the sound chamber, making the rhythm of the music more intense in the “Kep” rhythm and deeper when playing the floating rhythm. It was also found that the special techniques— an increase in the sound range and the length of sound chamber were mostly added during the floating rhythm. In the controlled rhythm, the song was played according to the recorded scores and it was found that the performance was presented in two sound ranges—the lower Pieng Or and the upper Pieng Or. The lower Pieng Or was performed more.
The results of the analysis show the wisdom of an old music master who was able to play traditional Thai music on a foreign musical instrument and the ability of Lt. Col. Vichit Hothai who has been able to continue this wisdom and hand it down to succeeding generations.
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น