ละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

Authors

  • พิมพิกา มหามาตย์ ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สวภา เวชสุรักษ์ ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

สาวเครือฟ้า, ละครสมัยใหม่, ละครร้อง, ละครร้องแบบมีลูกคู่, Sao Krua Fah, Modern drama performance, Musical performance, Musical performance with chorus

Abstract

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแบบแผนการแสดงของตัวละครนางเอก ชื่อสาวเครือฟ้า ในละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ตามรูปแบบที่ได้รับถ่ายทอดของวิทยาลัยนาฏศิลป รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติและองค์ประกอบการแสดง โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกต การแสดงบนเวที วีดีทัศน์ ภาพถ่าย และประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยที่แสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า

ผลการวิจัยพบว่า ละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จัดแสดงครั้งแรก ในงานวันตรุษสงกรานต์ ณ พระราชวังสวนดุสิต จากนั้นได้จัดแสดงที่โรงละครปรีดาลัย สาวเครือฟ้าเป็นละครที่นิยมมากในขณะนั้น ต่อมาได้เข้าสู่วิทยาลัยนาฏศิลป โดยการนำของคุณครูเฉลย  ศุขะวณิชและคุณครูลมุล  ยมะคุปต์ จัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติเมื่อปีพ.ศ.2522 จนถึงปัจจุบันมี ผู้สืบทอดเพียง 4 รุ่นเท่านั้น แบบแผนการแสดงของตัวนางเอก ชื่อสาวเครือฟ้า มีประการสำคัญ 8 ประการ ได้แก่ 1. ผู้แสดงร้อง รำ เจรจาด้วยตนเอง มีลูกคู่ร้องรับ ส่ง และแทรกในบางช่วง 2. การรำที่ใช้ในละคร ประกอบด้วยการรำ  2 ลักษณะ คือ การรำเดี่ยวและรำคู่ 3. ท่ารำที่ใช้แสดงละคร มี 4 ลักษณะ คือ รำตีบท รำประกอบทำนองเพลง รำประกอบการเจรจา และการเจรจาล้วนๆโดยไม่มีท่าทาง 4. กระบวนท่าเลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์ โดยมีการปรุงแต่งท่าทางธรรมชาติให้มีความสมดุล ประณีต และสมจริงมากขึ้น 5. กระบวนท่าแบบละคร มีสอดแทรกอยู่ในช่วงการอาบน้ำแต่งตัว ซึ่งเป็นจารีตของการแสดงละครไทยมาแต่โบราณ  6. การร้องเพลง เน้นทำนองเพลงไทยเดิมสำเนียงภาคกลางและภาคเหนือ รวมทั้งสอดคล้องกับจังหวะช้า-เร็วสลับกันเพื่อสื่อถึงอารมณ์ของตัวละครอย่างชัดเจน  7. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยภาคกลาง ภาคเหนือ ภาษาลาว และภาษาอังกฤษ  8. การใช้อารมณ์ในการดำเนินเรื่อง เน้นอารมณ์ที่หลากหลายตามธรรมชาติของมนุษย์ และอารมณ์ตามแบบแผนของละครรำ ส่วนเครื่องแต่งกาย แต่งทั้งภาคกลางและภาคเหนือ มี 2 รูปแบบคือ รูปแบบจากการแต่งกายในชีวิตประจำวันของมนุษย์และรูปแบบนาฏยศิลป์ไทย ละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าเป็นละครสมัยใหม่ที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการทางด้านการละครหลายๆประเภท สะท้อนถึงการให้ความสำคัญของการละครไทย ควรค่าแก่การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป            

Abstract

This thesis aims to examine the performance styles of the heroine, by the name of Sao Krua Fah, in the Sao Krua Fah musical performance, which have been transmitted by the College of Dramatic Arts. It also aims to study the history and elements of this musical performance through documentary research, interview, observation, stage performance, videos, photographs and the researcher’s direct experiences in a Sao Krua Fah musical performance.

The research findings reveal that Sao Krua Fah musical performance was originated in the reign of King Rama V by HRH Prince Naradhip Prapanpongse. It was performed for the first time, with great success, at a Songkran Festival fair held at Suan Dusit Palace. Subsequent performances were held at Preedalai Theater. Sao Krua Fah musical performance gained entry into the College of Dramatic Arts with the introduction of two dance teachers, Khun Khru Chaluey Sukhawanich and Khun Khru Lamun Yanakupta. It was originally performed at the National Theatre in 1979. Since then the performance has been passed on to only four generations of performing artists. There are eight key elements in the performing styles of the heroine of Sao Krua Fah. 1. The heroine sings, dances and speaks on her own with a chorus backing up, leading and interjecting in the singing at certain points. 2 .There are two types of dancing: solos and duos. 3. There are four dance styles: Rum Tee Bot, dancing to the melody, dancing to the dialogue, and speaking without dancing. 4. Natural human gestures are modified into more balanced, elegant and convincing gestures. 5. Dramatic dance patterns in the tradition of ancient Thai performing art are incorporated into the bathing and getting dressed scenes. 6. The singing is performed in the singing styles and melodies of the Central and northern regions. Alternating slow and fast tempos are adopted to distinctively convey different emotions of the performer. 7. The central and northern Thai dialects as well as the Laotian and English languages are used. 8. The story evolves through the display of a large variety of emotions that closely reflect genuine human nature in the traditional style of Thai dance performance. The central and northern region costumes are adopted in Sao Krua Fah musical performance. The costumes come in two styles: normal day-to-day and traditional Thai dance costumes. As an impetus for the creation of many styles of modern Thai drama, Sao Krua Fah reflects the importance of Thai drama performance and is in itself worthy of sustainable preservation and development efforts.

 

Downloads

Published

2015-12-28

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article