การออกแบบมาสคอตสาหรับงานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ประไพพรรณ เปรื่องพงษ์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การออกแบบมาสคอต, วัฒนธรรมเชียงใหม่, งานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรม, Mascot Design, Chiang Mai Cultural, Cultural Events

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การออกแบบมาสคอตสำหรับงานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการออกแบบมาสคอตและวัฒนธรรมเชียงใหม่ ที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย เพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบมาสคอตที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเชียงใหม่ ซึ่งเน้นด้านการจัดกิจกรรมอีเว้นท์ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้

งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของวัฒนธรรมที่เป็นจุดขายทางด้านการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มประเพณี กลุ่มอาหารการกิน กลุ่มศิลปหัตถกรรม และกลุ่มธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมเชียงใหม่ในแต่ละกลุ่ม และสร้างเป็นชุดแบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเชียงใหม่ เพื่อทำการคัดเลือกองค์ประกอบของมาสคอตทางด้านบุคลิกภาพและที่มา ได้แก่ เพศ ประเภทของมาสคอต และอารมณ์ของสี 2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการออกแบบของมาสคอต และสร้างเป็นชุดแบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ เพื่อทำการคัดเลือก เทคนิคในการออกแบบ สัดส่วน และกลุ่มสี 3. สรุปผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และ 2 เพื่อสร้างเป็นชุดแบบสอบถามสำหรับเก็บความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของมาสคอตที่กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ ผลที่ได้จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบมาสคอตสำหรับ
งานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของมาสคอตที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมเชียงใหม่ทั้ง 4 กลุ่ม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่แตกต่างกัน คือ ประเภทของมาสคอต อารมณ์ของสี กลุ่มสี และเทคนิคในการออกแบบ 2. ส่วนที่คล้ายคลึงกัน คือ เพศ และสัดส่วนของมาสคอต ซึ่งการวิจัยนี้จะช่วยกำหนดแนวทางการออกแบบมาสคอตได้อย่างเป็นระบบ มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมเชียงใหม่ทั้ง 4 กลุ่ม ช่วยให้ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยให้งานออกแบบเข้าถึงความชื่นชอบของกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น

Abstract

This study, Mascot design for Chiang Mai cultural events, is performed with objectives to study elements of graphic design in mascot compared to Chiang Mai cultures that suit late adolescents, and to find guidelines in mascot design which suit the cultural events in Chiang Mai Province and attract the target group.

This study was initially set off with finding information on cultural attractions in tourism of Chiang Mai dividing into 4 categories: traditions, cuisine, arts and handicrafts, and natural and environment. The research procedures can be divided into 3 steps. 1. Gathering data of each category of cultural attractions in Chiang Mai, and building questionnaires based on the data to be completed by Chiang Mai cultural specialists in order to find elements of mascot by personalities and background components which are concerning gender, mascot type, and mood of color. 2. Gathering data of mascot design elements and building questionnaires based on the data to be completed by design specialists in order to find design techniques, proportion, and color schemes. 3. Using result from the first and the second steps to build questionnaires surveying opinions from the target group on mascot elements that attract them. The result will be used as mascot design guidelines for Chiang Mai cultural events that is suitable for Chiang Mai cultural events and attract the target group.

            The study findings are that the elements of mascot that suit Chiang Mai cultural into 4 categories and the target group can be divided into 2 parts: 1. Dissimilarities in types of mascot, mood of color, color schemes and design techniques 2. Similarity in gender of mascot and mascot proportion. This research will help the designers to design the mascots systematically and suitably for the 4 cultural categories of Chiang Mai. This enables the faster and easier work process by reducing time spent in collecting data and creating more suitable designs for the targeted groups.

Downloads

Published

2015-12-28

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article