การออกแบบเรขศิลป์สาหรับภาพยนตร์ไทยตระกูลต่าง ๆ โดยใช้ไทโปกราฟีเป็นองค์ประกอบหลัก

Authors

  • อภิสิทธิ์ ปุรสาชิต ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อารยะ ศรีกัลยาณบุตร ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ตระกูลภาพยนตร์ไทย, แนวนิยมเรขศิลป์, แบบตัวอักษร, สี, ลักษณะภาพ, เทคนิคในการออกแบบ, Thai film genres, graphic movements, typefaces, colors, images, design techniques

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบตัวอักษร (Typefaces) สี (Colors) ลักษณะภาพ (Images) และเทคนิคในการออกแบบ (Design Techniques) ในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับภาพยนตร์ไทยตระกูลต่างๆ

             วิธีการวิจัยใช้การศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตระกูลภาพยนตร์ไทยโดยการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ไทยพบว่าสามารถแบ่งได้ 17 ตระกูล จากนั้นนำตระกูลภาพยนตร์ไทยเหล่านี้เป็นตัวแปรต้นเพื่อหาแบบตัวอักษร สี ลักษณะภาพ และเทคนิคในการออกแบบ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามเชิงคุณภาพ 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตอบเพื่อหาแบบตัวอักษรที่เหมาะกับภาพยนตร์ไทยแต่ละตระกูล ขั้นตอนที่ 2 ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตอบแบบเพื่อหาสี ลักษณะภาพ และเทคนิคในการออกแบบ โดยได้นำแนวนิยมเรขศิลป์ซึ่งมีทั้งสิ้น 13 แนวนิยมมาใช้เป็นตัวแทนขององค์ประกอบและหลักการทางเรขศิลป์ โดยในขั้นตอนนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทำโฟกัสกรุ๊ปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อคัดกรองตัวเลือกแนวนิยมเรขศิลป์ จากนั้นจึงนำตัวเลือกเหล่านั้นไปสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อถามผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอีกชุด เพื่อระบุแนวนิยมเรขศิลป์ที่เหมาะสมที่สุด และนำผลลัพธ์มาวิเคราะห์แยกเป็นองค์ประกอบสี ลักษณะภาพ และเทคนิคในการออกแบบในขั้นสุดท้าย

สรุปผลการวิจัย ในส่วนของแบบตัวอักษร ผลที่ได้แตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละตระกูลภาพยนตร์ไทย ยกเว้นภาพยนตร์ผจญภัย ภาพยนตร์ตลกพระ และภาพยนตร์ตลกเสียดสีที่ได้ผลที่ไม่ดีที่สุดแต่ก็สามารถนำไปใช้งานได้ ส่วนสี ลักษณะภาพ และเทคนิคในการออกแบบได้ผลตรงกันในหลายตระกูล ได้แก่ ภาพยนตร์ผจญภัย ภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคม และภาพยนตร์สยองขวัญ ได้ผลตรงกัน ภาพยนตร์สัตว์ ภาพยนตร์เด็ก ภาพยนตร์ตลกล้อเลียน และภาพยนตร์ตลกเสียดสี ได้ผลตรงกัน ในขณะที่ภาพยนตร์ชีวิต ภาพยนตร์รัก ภาพยนตร์ตลกผี และภาพยนตร์ตลกพระได้ผลที่ไม่ดีที่สุดแต่ก็สามารถนำไปใช้งานได้

Abstract

An objective of this research is to find the use of typefaces, colors, images and design techniques for Thai film genres.

This research follows a series of steps starting with collecting informations of Thai film genres by using questionnaire and interviewing with Thai film experts, the result is Thai film can be divided into 17 genres. Then use these Thai film genres as independent variables to find typefaces, colors, images and design techniques by using 2 step-qualitative questionnaires. The first step, graphic design experts response to the questionnaire to find typefaces that suit to Thai film genres. The second step, graphic design experts response to the questionnaire to find colors, images and design techniques by using 13 graphic movements represent as graphic design elements and principles. In this step divided into 2 parts, the first part is focus group interviewing with graphic design experts to screen unsuitable graphic movements out. the second part is making another questionnaire by using the result from the first part and response by graphic design experts to find the most suitable graphic movements for each Thai film genre and analyse into colors, images and design techniques in the final step.

The conclusion of this research: the results of typefaces is clearly different in each Thai film genre except adventure film, monk comedy and satire that there is no best result but secondary one is applicable. The results of colors, images and design techniques are the same in several Thai film genres such as adventure film, social problem and horror/ghost film suit with expressionism, animal film, children’s film, parody and satire suit with post-modern. As melodrama, romance film, ghost comedy and monk comedy there is no best result but secondary one is applicable.

Downloads

Published

2015-12-28

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article