กลวิธีการแสดงบทบาทนางยักษ์แปลงในละครนอก

Authors

  • นันทนา สาธิตสมมนต์ สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผุสดี หลิมสกุล สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กลวิธี, นางยักษ์แปลง, ละครนอก, Techniques, Disguised Female Demon, Lakhon Nok

Abstract

บทคัดย่อ

          วิทยานิพนธ์เรื่อง  กลวิธีการแสดงบทบาทนางยักษ์แปลงในละครนอก  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบการแสดง กระบวนท่ารำและกลวิธีในการแสดง โดยเลือกศึกษาบทบาทการแสดงของนางยักษ์แปลง   3 บทบาทได้แก่ บทบาทนางสันธีในละครนอกเรื่อง รถเสน บทบาทนางผีเสื้อสมุทรแปลงในละครนอกเรื่อง พระอภัยมณี และบทบาทนางพันธุรัตแปลงในละครนอกเรื่อง สังข์ทอง ผลการวิจัยพบว่า นางยักษ์แปลง หมายถึงตัวละครที่มีชาติกำเนิดเป็นยักษ์เพศหญิงและได้แปลงกายเป็นนางมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการแปลงกายที่แตกต่างกัน กลวิธีในการแสดงมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ การรำแบบมีจริต มีความกระฉับกระเฉง เน้นใช้จังหวะในการรำและการใส่พลังลงไปในท่ารำ ลีลาในการรำและการแสดงอารมณ์ตามบทบาทเน้นการแสดงออกอย่างเปิดเผยและมีลักษณะเกินจริงโดยแสดงออกผ่านทางสีหน้า แววตาและท่าทาง การเจรจาต้องใช้น้ำเสียงให้มีความสอดคล้องกับอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งตัวนางยักษ์แปลงทั้ง 3 บทบาท มีท่วงทีลีลาในการรำที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันในด้านของการแสดงอารมณ์ ผู้แสดงบทบาทนางยักษ์แปลงต้องเป็นบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม มีทักษะทางนาฏยศิลป์ไทยเป็นอย่างดี มีบุคลิกภาพมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

คำสำคัญ: กลวิธี/นางยักษ์แปลง/ละครนอก

Abstract

          The objective of "Techniques in the Performance of the Role of Disguised Female Demon in Lakhonnok" is to study the history, elements of performance, dance patterns, and techniques of performance. The case studies included three roles of disguised female demons: the role of Santhumala in "Rathasena," the role of Nang Phisua Samut in "Phra Aphai Mani," and the role of Nang Phanthurat in "Sang Thong." The results revealed that, a disguised female demon means the character who is born as a female demon and transforms herself into a female human. The purposes of the disguise are different Significant techniques of performance can be described as follows; dance is performed with manners and dynamic, focusing on rhythm of the dance and the vigor of dance patterns. Dance styles and emotional expression focus on the openly and exaggerated expression through facial expressions, eyes, and gestures. The tone of voice used in dialogues need to be corresponding with the emotion of the character. The three roles of disguised female demons have similar dance styles and patterns, but they are different in terms of emotional expression. The requirements for the performers who perform the role of disguised female demon are found to be good look, good skills in Thai classical dance, self-confidence, expressiveness, intelligence and wit in improvisation.

Downloads

Additional Files

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article