วิเคราะห์เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงกราวในสามชั้น ทางครูพุ่ม บาปุยะวาทย์

Authors

  • ชัชวาล แสงทอง สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บุษกร บิณฑสันต์ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

เดี่ยวระนาดทุ้ม, เพลงกราวใน, Ranat Thum, Krawnai

Abstract

 บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงกราวใน สามชั้น ทางครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ปรากฏผลว่าทางเดี่ยวทางนี้สืบทอดมาจากครูสุชาติ คล้ายจินดา โดยครูศืบศักดิ์ ดุริยประณีต เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงกราวในเป็นเพลงเดี่ยวหน้าพาทย์ชั้นสูงที่นักดนตรีนิยมนำมาบรรเลงเพื่ออวดฝีมือ เป็นเพลงที่พิเศษกว่าเพลงอื่นทั้งยาวและยาก ประกอบกับมีเม็ดพรายต่าง ๆ มากมายรวบรวมเอาเนื้อหาทางดุริยางค์ไว้ในเพลงเดี่ยวอย่างครบถ้วน   การวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และกลวิธีพิเศษพบว่าเพลงนี้มีทั้งหมด 6 กลุ่มลูกโยน ใช้จังหวะฉิ่งแบบพิเศษ คือ ตีเสียงฉิ่งอย่างเดียว ใช้หน้าทับกราวนอกกำกับจังหวะเพื่อให้ทำนองกระชับรวดเร็ว พบการใช้กลวิธีพิเศษในการบรรเลงได้แก่ การตีลักจังหวะ การตีสะเดาะ การตีสะบัด การตีขยี้ การตีโขก การตีดูด การตีกวาด การตีเสียงเที่ยว การตีกระทบ  การตีถ่างมือ การตีเสี้ยวมือ การตีเตะเสียง การตีย้อย การตีลอยจังหวะ ในการศึกษาด้านอัตลักษณ์การบรรเลงของครูพุ่มบาปุยะวาทย์ พบว่ามีอัตลักษณ์พิเศษได้แก่ การสอดแทรกสำเนียงภาษาต่าง ๆ   การตีดูดรวบปลายจังหวะ การดำเนินทำนองให้มีรสมือของระนาดทุ้มและการดำเนินทำนองแบบเน้นการใช้มือซ้าย

Abstract

This research focused on the Krawnai Ranat Thum solo of Kru Phum Bapuyawat in its related contents including the analysis of its forms and the unique technique of Kru Phum’s Ranat Thum performance. This solo piece is transmitted by Kru Suchart Klaijinda to Kru Seubsak Duriyapraneat. The findings showed that Krawnai solo is considered to be the most advanced solo piece because of its virtuoso techniques and its length. There are 6 LukYon groups. Krawnork Nathab is used for a drum.    Ching - a small pair of symbals hit only “ching” sound. The special techniques - Tee Lak Jangwa, Tee Sadaw, Tee Sabat, Tee Kayee, Tee - Kayok, Tee Dood, Tee Kwad, Tee Tiew, Tee Kratob, Tee Tang Muoe, Tee SiewMuoe, Tee Tae Sieng, Tee Yoi, Tee Loi Jangwa are used. The unique techniques of Kru Phum’s performing styles are; the insertion of western dialect, the damping sound with syncopation with the left-hand emphasis are applied.

 

Downloads

Additional Files

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article