การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีสตรีทแวร์จากแนวคิดคอสเพลย์ประเทศญี่ปุ่นเพื่อตลาดไทย

Authors

  • ชาลิสา อภิวัฒนศร ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พัดชา อุทิศวรรณกุล ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

เครื่องแต่งกายสตรี, สตรีทแวร์, คอสเพลย์, Womenswear, Street Wear, Cosplay

Abstract

บทคัดย่อ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการสืบทอดวัฒนธรรมเก่าร่วมกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ และมีนโยบายในการเผยแพร่วัฒนธรรมสู่สากลที่เรียกว่า คูล แจแปน โพลีซี่ (Cool Japan Policy) ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการแต่งกายคอสเพลย์ในหมู่วัยรุ่นซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่จากการสำรวจแฟชั่นเครื่องแต่งกายคอสเพลย์ในประเทศไทยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า ซึ่งถือเป็นช่องว่างทางการตลาดในการสร้างตราสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีสตรีทแวร์ โดยใช้แนวคิดจากเครื่องแต่งกายประเภทคอสเพลย์ของประเทศญี่ปุ่น ให้เป็นสินค้าที่ทันสมัย และสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความแปลกใหม่ให้กับเครื่องแต่งกายสตรีทแวร์ในปัจจุบัน โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยคือ หาข้อมูลและลักษณะจำเพาะของเครื่องแต่งกายประเภทคอสเพลย์จากข้อมูลปฐมภูมิ คือ การสำรวจเครื่องแต่งกายคอสเพลย์จากแหล่งต้นกำเนิด คือ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และข้อมูลทุติยภูมิ คือเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลงานการออกแบบที่ใช้แนวคิดเดียวกัน ซึ่งในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยจำแนกได้ว่า เครื่องแต่งกายประเภทคอสเพลย์ มีทั้งหมด 13 แบบ ประกอบด้วย โลลิต้า เดโคระ วิชวลเคย์ โอชาเระเคย์ แฟรี่เคย์ ดอลลี่เคย์ คัลปาร์ตี้เคย์ พังก์ โกธิค ชิโรนุริ กันกุโระ วาฟุ และ โมริเกิร์ล ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป หลังจากนั้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ต่อเพื่อค้นหาแนวคิดร่วมของเครื่องแต่งกายประเภทคอสเพล์ยทุกแบบ และนำมาผสมผสานร่วมกับแนวโน้มแฟชั่นฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ปี 2014 ในหัวข้อ อัลเลอร์กอรี่ และ โมเดิร์นมิธ เพื่อหาแรงบันดาลใจในการออกแบบ รวมไปถึงการกำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตลาดของผลิตภัณฑ์ โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ (1) กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของงานวิจัยคือกลุ่มสตรีที่มีอายุระหว่าง 15 – 25 ปี ที่มีความชื่นชอบ หลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสำรวจตลาดกลุ่มผู้บริโภคเพื่อให้ได้คำตอบถึงรูปแบบที่ผู้บริโภคต้องการและพึงพอใจสูงสุด ในที่นี้คือ รูปแบบโลลิต้า และ พังก์ผลิตภัณฑ์ของงานวิจัยอยู่ในกลุ่มตลาดระดับปานกลาง โดยแนวทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายมีความสอดคล้องกับเครื่องแต่งกายประเภทคอสเพลย์ประเภทโลลิต้าและพังก์ที่นำมาปรับให้สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ มีรูปแบบคลาสสิก สอดคล้องกับแนวโน้มแฟชั่นที่จะเกิดขึ้น และสามารถนำไปสวมใส่ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อเพิ่มโอกาสการใช้งานได้ (2) เครื่องแต่งกายของงานวิจัยมีลักษณะเด่นจำเพาะคือ มีรูปแบบที่มีกลิ่นอายของเครื่องแต่งการประเภทคอสเพลย์ประเภทโลลิต้าและพังก์ เช่น ลักษณะรายละเอียดบนเสื้อผ้า ในที่นี้คือ มีการแต่งระบาย การซ้อนทับ การประดับตกแต่ง และการทำลายเพื่อให้เกิดพื้นผิวใหม่ หรือการใช้วัสดุ ซึ่งในการออกแบบในวิจัยเล่มนี้ใช้ลูกไม้เป็นหลัก ผสมผสานกับผ้าเนื้อหนาชนิดอื่น เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากเครื่องแต่งกายที่มีขายอยู่ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มผู้บริโภค

Abstract

Japan has rich culture heritage combining with the new creation of new culture. It also has a Cool Japan Policy to make their culture internationally recognized. Thailand is one of the countries which has been influenced by Japan for so long, especially the culture of cosplay among teenagers aged 15-25. The trend has been increasing. The survey of cosplay fashion, however, reveals that most of the cosplay costumes are imported. This is a gap in the market branding to meet the needs of the consumers. The aim of this research was find ways to create branding for street wear lady costume using the concept of Japanese cosplay in order to make the products modern and practical in everyday use, to provide more alternatives for the target consumers, and to create novelty for the current street wear lady costume. The researcher conducted the research using primary and secondary data. The primary data was obtained from surveying the cosplay costume in Tokyo, Japan: the origin of cosplay. In addition, the secondary data arose from the documents and related literature. This was to find the mutual concept of every type of cosplay costume to be analyzed with the trends of autumn and winter fashions in 2014, leading to the inspiration of costume design, and defining target customers and market. The results of the study were (1) the target consumers were ladies aged between 15 - 25 who were impressed by Japanese culture. The research costume was in the middle market. The guideline for the costume design was consistent with the types of costume to be adapted to be worn in everyday life. As it was in a classic style and consistent with upcoming fashion trends, it could be worn in conjunction with other products to increase the likelihood of use. (2) The dominant characteristic of the research clothing was that its format had a touch of cosplay style such as details on the clothing and materials. This was different from the costume available in the current market; it was to provide more alternatives for the consumers.

Downloads

Additional Files

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article