กลวิธีการเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่เพลงกราวในทางครูสอน วงฆ้อง

Authors

  • อาทิตย์ ผ่อนร้อน สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บุษกร บิณฑสันต์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

เดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่, เพลงกราวใน, ครูสอน วงฆ้อง, Kong Mon Wong Yai, Ground Nai solo, Kru Sorn Wongkong

Abstract

บทคัดย่อ

        วิทยานิพนธ์เรื่อง “กลวิธีการเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่เพลงกราวในทางครูสอน  วงฆ้อง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่ทางครูสอนวงฆ้องและเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของทำนองและกลวิธีในการบรรเลงเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่เพลงกราวใน

        เดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่ทางครูสอนวงฆ้องมีที่มาจากการประชันวงปี่พาทย์มอญที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างสำนักของบ้านบางลำพูกับสำนักของกำนันแสวง บ้านคลัง บ้านบางลำพูจึงได้เตรียมเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่ โดยมอบให้ครูสอนวงฆ้องมาทำทางเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่เพลงกราวในและได้ถ่ายทอดให้กับครูสมชาย ดุริยประณีต

        การดำเนินทำนองของทำนองเดี่ยวฆ้องมอญวงใหญ่เพลงกราวในพบว่าทำนองเดี่ยวมีจำนวน 8 กลุ่ม 6 เสียงลูกโยน ดำเนินทำนองอยู่ในกลุ่มเสียงปัญจมูล ด ร ม x ซ ล x ตรงกับทางเพียงออบน ร ม ฟ x ล ท x ตรงกับทางนอกและ ซ ล ท x ร ม x ตรงกับทางเพียงออล่าง พบการใช้กลวิธีการประคบ การสะบัดขึ้น การสะบัดลง การสะบัดเฉี่ยว การขยี้ การสะบัด 2 เสียง การกวาดขึ้น การกวาดลง การกรอ การสะเดาะและการไขว้ การดำเนินทำนองอาศัยเค้าโครงของทำนองหลักอย่างหนึ่งและดำเนินทำนองอย่างอิสระที่ยึดเฉพาะเสียงลูกโยนอย่างหนึ่ง ความพิเศษเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ในการดำเนินทำนอง ได้แก่ การสะบัดข้ามเสียงจะเกิดขึ้นในการดำเนินทำนองของกลุ่มเสียงปัญจมูล ด ร ม x ซ ล x และกลุ่มเสียงปัญจมูล ซ ล ท x ร ม x ไม่ปรากฏในกลุ่มเสียงปัญจมูล ร ม ฟ x ล ท x การตีคู่ที่ไม่ใช่คู่จริงแต่ได้เสียงจริงจะเกิดขึ้นในช่วงเสียงที่มีหลุมเสียง การเคลื่อนที่ของทำนองที่ผันแปรไปทางสูงไม่ปรากฏการใช้กลวิธีการไขว้มือในกลุ่มเสียงปัญจมูล ร ม ฟ x ล ท x ทำนองที่มีเสียงฟารวมอยู่ด้วยจะต้องตีในทางสูงเท่านั้น ไม่ปรากฏการตีเสียงฟาเป็นคู่ 8 การตีเสียงเรียง 4 พยางค์ติดกันที่มีเสียงฟาและเสียงทีรวมอยู่ด้วยจะตีในทางเสียงสูงเท่านั้น

Abstract

       The study of Technique of Kong Mon Wong Yai in Ground Nai solo of Kru Sorn Wongkong focuses on the origin and the solo techniques of Kru Sorn Wongkong’s Kong Mon Wong Yai solo.

       Kru Sorn Wongkong’s Kong Mon Wong Yai solo was composed by Kru Sorn Wongkong after the Pi Phat Mon duel between Bahn Bang Lamphu and Kamnan Swang Bahn Klang ensembles which took place in Ayutthaya province. At that time the Bahn Bang Lamphu ensemble could not be able to perform Kong Mon Wong Yai solo therefore Kru Sorn has composed this solo for them.

       The Ground Nai in Kong Mon Wong Yai solo comprises of 8 groups of melodies. There are 6 Yons in different pentatonic scales. The most found scales are C D E x G A x in Thang Pheang Or Bon; D E F x A B x in Thang Nork and G A B x D E x in Thang Pheang Or Lang. There are various techniques found such as Prakob, Sabat Kheon, Sabat Long, Sabat Chiew, Kayii, Sabat Song Sieng, Kwad Khuen, Kwad Long, Kro, Sadoa, Kwai. The combination of basic melody and advanced solo techniques such as Sabat Kam Sieng and Kwai Meo are applied. Sabat Kam Sieng is used in C D E x G A x and G A B x D E x but not in D E F x A B x scales. An artificial interval is used in the skipped tone. There are no Kwai technique found in the high tone in D E F X A B x. The melody which consists of F is also used in the high pitch but the F can not be performed in octave. The 4 consistent melody contains the F can only used in the high pitch area.

Published

2014-05-12

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article