การออกแบบลีลานาฏศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533
Keywords:
การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ไทย, Thai Dancing Art’s ChoreographyAbstract
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่องแนวคิดการออกแบบลีลาท่ารำนาฏยศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดกลวิธีในการออกแบบลีลานาฏยศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533 ดำเนินการวิจัยโดยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตการแสดงนาฏยประดิษฐ์ชุดสร้างสรรค์ใหม่ของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ มีแนวคิดในการออกแบบนาฏยศิลป์จากประสบการณ์การแสดงประกอบกับแรงบันดาลใจของท่านนำมาออกแบบโดยใช้หลักการออกแบบลีลาท่ารำ 4 ประการได้แก่ (1) ใช้หลักการจินตนาการ (2) ใช้หลักการตีบทผสมผสานท่าทางธรรมชาติ (3) ใช้หลักการนำท่ารำเก่ามาพัฒนาใหม่ (4) ใช้หลักการสร้างสรรค์กระบวนท่ารำใหม่ในรูปแบบการรำตีบทตามคำร้องและทำนองเพลง กระบวนลีลาท่ารำแบบมาตรฐานมีการนำแม่ท่านาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ต่างชาติมาร้อยเรียงกระบวนลีลาท่ารำใหม่อย่างมีเอกลักษณ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดการออกแบบนาฏยประดิษฐ์ที่มีลักษณะและรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันจำนวน 3 ชุดดังนี้
การแสดงประเภทระบำชุดระบำรัตนโกสินทร์เป็นการแสดงที่มีรูปแบบการรำตีบทตามคำร้องและทำนองเพลง เป็นท่ารำแบบมาตรฐานที่มีความนุ่มนวลอ่อนช้อยงดงามตามแบบแผนของนาฏศิลป์ไทย การแสดงประเภทรำเดี่ยวชุดปันหยีแต่งตัว แบบชวาเป็นการแสดงที่มีรูปแบบการรำตีบทตามคำร้องและทำนองเพลงที่มีสำเนียงทางชวา เป็นการรำอวดฝีมือของผู้แสดง มีลีลาท่ารำผสมผสานระหว่าง 2 วัฒนธรรมคือนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์อินโดนีเซีย (ยอกยาการ์ต้า) ท่ารำสื่อถึงลักษณะการแต่งกายของตัวละคร การแสดงประเภทเป็นชุดเป็นตอนชุด พลายยงตรวจพลเป็นการแสดงแบบละครพันทางที่มีรูปแบบการรำในลักษณะการรำตีท่าเข้ากับทำนองเพลงที่มีสำเนียงลาวมีการผสมผสานลีลาท่ารำที่ใช้อาวุธประกอบการแสดง
Abstract
The Thesis named Choreography of Thai performing arts movement of Acarn Suwanni Chalanukroa-the National Artist 1990, aims to study and analyze the idea how to choreograph Thai Dancing Art’s Choreography. This thesis was preceded by searching and gathering the information from the relevant documents and researches including the interview and observation of the modern creative Thai Dancing Art’s Choreography of Acarn Suwanni Chalanukroa.
The research found that the Thai Dancing Art’s Creation of Acarn Suwanni Chalanukroa come from the performance’s experiences and her inspiration. Her choreography is based on 4 principles: (1) imagination, (2) Acting based on nature behavior, (3) Renewing ancient Thai Dancing Art, (4) Creating new movements. The dancing which goes together with the lyrics and tunes is come from the combination of the basic Thai Dancing Art Styles and International Style. This combination makes the new remarkably outstanding movements the researcher has studied the idea of choreography which is divided to 3 different styles as below;
Stage Dancing Performance: Rattanakosin’s Rabam Set is the Dancing performance which goes together with the lyrics and tunes. This set is based on the basic dancing which is very delicate and graceful like the ancient Thai cultural Dancing Art. Single Dancing Set named “Panyee getting dress like Javanese.” This concept is the dancing which goes together with the Java lyrics and tunes. The objective of this concept is to show off the dancer’s skills. This dancing style is the combination between Thai Dancing Art and Indonesia Dancing Art (Yogyakarta). The movements are representing the dancer’s appearance. Episode performance: Plai Yong Truad Pon, this concept is the Drama whose its movements coordinate with Lao’ tunes, the weapons were also adapted to the movements.
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น