การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีเพื่อพัฒนางานพื้นถิ่นให้เป็นสินค้าระดับชาติโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาผ้าทอมืออาเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
Keywords:
เครื่องแต่งกายสตรี, การออกแบบอย่างยั่งยืน, ผ้าทอมือ, Womenswear, Sustainable Design, Handwoven TextileAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยใช้วัตถุดิบหลักจากผ้าทอมือของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงรายให้เป็นสินค้าที่มีความทันสมัยและสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable Design) ในการออกแบบ และเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้เลือกใช้และสามารถแข่งขันกับตลาดสินค้าเครื่องแต่งกายสำเร็จรูปในปัจจุบันได้ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยคือ หาหลักการสำคัญของการออกแบบอย่างยั่งยืนจากข้อมูลทุติยภูมิ คือ เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและจากผลงานออกแบบที่ใช้แนวคิดเดียวกัน หาอัตลักษณ์ของผ้าทอมือในอำเภอเวียงเชียงรุ้งจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น รวมไปถึงการกำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตลาดของผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่นในฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาวปี ค.ศ. 2014 เพื่อหาแนวคิดและแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ (1) กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของงานวิจัยคือ กลุ่มสตรีที่มีอายุระหว่าง 33-45 ปี ผลิตภัณฑ์ของงานวิจัยอยู่ในกลุ่มตลาดสินค้าระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยมีแนวทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายของงานวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ความยั่งยืนในแง่ของสิ่งแวดล้อม คือ การใช้สีย้อมธรรมชาติ การใช้เส้นใยจากธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนตลอดหมดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ความยั่งยืนในแง่ของงานพื้นถิ่น คือ การใช้ผ้าทอมือในชุมชน ที่ได้มีการพัฒนาการใช้สี การแทรกเส้นด้ายพุ่งเพื่อสร้างพื้นผิวใหม่ ๆ ที่ทันสมัยขึ้น และความยั่งยืนในแง่ของการใช้งาน คือ เครื่องแต่งกายที่มีรูปแบบที่มีความคลาสสิก สวมใส่ได้ทุกยุคสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มแฟชั่นที่จะเกิดขึ้น และสามารถนำไปสวมใส่กับผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อเพิ่มโอกาสการใช้งานได้ เป็นต้น (2) เครื่องแต่งกายของงานวิจัยมีลักษณะเด่นจำเพาะคือ มีรูปแบบที่มีกลิ่นอายของความเป็นไทยพื้นถิ่น เช่น ลายผ้า หรือ ลักษณะของรายละเอียดบนเสื้อผ้า เป็นต้น เป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้เส้นใยธรรมชาติที่มีรูปแบบลำลองทางการและลำลองปาร์ตี้ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มตลาดสินค้าที่เน้นการใช้เส้นใยธรรมชาติเหมือนกันที่เน้นเครื่องแต่งกายแบบลำลองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในกลุ่มตลาดสินค้าเดียวกัน
Abstract
This research objective is to design and develop womenswears from local Thai hand woven textiles of Wiangchiangrung, Chiangrai to be more fashionable and wearable in everyday life by using sustainable design theory. The research method involves (1) a review of sustainable design main idea; (2) a definition of Wiangchiangrung, Chiangrai hand woven textiles identity; (3) a definition of customer profile and market of products and fashion trend season fall-winter 2014. In this research, the meaning of sustainable design is defined in three ways; (1) sustain in environment which is a reduction of waste from production and the use of natural dyes for fabrics; (2) sustain in local Thai arts; and (3) sustain in usability in term of good product, fashionable and classic clothes. The result reveals the product identity of a local Thai costume details, such as fabric pattern, and a more formal and party design which is different from other brands. It makes of the natural fibers, but appear to be more casual design.
Downloads
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น