กระบวนการสร้างและคุณภาพเสียงของโทนรำมะนา

Authors

  • ชัยทัต โสพระขรรค์ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กระบวนการสร้าง, คุณภาพเสียง, โทนรำมะนา, Making Procedure, Sonic Quality, Thon Rammana

Abstract

บทคัดย่อ

       งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างและคุณภาพเสียงของโทนรำมะนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา บทบาทหน้าที่ กระบวนการสร้างคุณภาพเสียงของโทนรำมะนา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย 6 ท่าน ช่างทำโทนรำมะนา 4 ท่าน พบว่ากรรมวิธีการผลิตในครั้งนี้ใช้แรงงานคน 1-3 คน ใช้เครื่องมือช่างที่ผสมผสานระหว่างเครื่องมือกลและเครื่องมือช่างที่ประยุกต์ขึ้น ขั้นตอนที่สำคัญคือ การเตรียมวัสดุ การสร้างหุ่นกลอง การดงหนัง การขึ้นหน้ากลอง และการตรวจสอบคุณภาพวัสดุที่นำมาสร้างหุ่นรำมะนาใช้ไม้เป็นหลัก ในขณะที่หุ่นโทนใช้วัสดุที่หลากหลายได้แก่ ไม้ ดินเผา และเซรามิกส์ วัสดุที่นิยมนำมาขึ้นหน้าโทนและรำมะนามากที่สุดตามลำดับคือ หนังวัว หนังแพะ และหนังงู จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวได้ว่า เสียงมีความสำคัญมากกว่ารูปทรง เสียงในอุดมคติที่ต้องการมาจากการใช้นิ้วและมือทั้งสองข้างตีลงบนตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้ากลอง มี 5 เสียงหลัก ได้แก่ “ติง” “จ๊ะ หรือ นะ” “จ๋ง” “ทั่ง หรือ ทั่ม” และ “ถะ” เสียงที่เป็นกลวิธีพิเศษ 5 เสียง ได้แก่เสียง “ตีด” “ตลิง” “กรอด” “เจ๊าะ” และ “ถาด” คุณภาพเสียงของโทนรำมะนาที่แตกต่างกันเกิดจากปัจจัยภายใน 4 ประการ ได้แก่ หุ่นกลอง ชนิดของหนัง วัสดุที่ใช้เร่งเสียงและความตึงของหนังร่วมกับปัจจัยภายนอก 4 ประการคือ สภาพอากาศ การปรับแต่งเสียง ความสามารถในการ “ประคบมือ” ของผู้บรรเลงและการบำรุงรักษาก่อนและหลังการบรรเลง ในด้านการศึกษาคุณภาพเสียงพบว่าเสียงโทนรำมะนาที่มีความกลมกลืนไพเราะในทางทฤษฎีเกิดจากการปรับระดับเสียง “ติง” และ “ทั่ม” ให้มีระยะสัมพันธเป็น “คู่เสนาะ” คือ คู่ 5

Abstract

       The objective of this study is to investigate the history, functions, materials, making process and sonic quality of Thon Rammana by employing qualitative research methods. Six Thai music experts and four drum makers were interviewed. The study reveals that the making procedure involves a manual process of teamwork and uses the combination of mechanic tools and applied hand tools. The main process in this study includes preparing materials, making drum body, preparing membrane called “Dong Nang,” drum covering/attachment and quality inspection. While Rammana is made of various types of woods, Thon is made of timbers, terracotta and ceramic. Cow, goat and serpent hide are used respectively. The experts suggested that the sonic quality is of greater emphasis than physical appearance. The sound effect of the drum can be created by using both fingers/hands to hit down on the various positions of the drum in order to produce five basic sounds: “Ting,” “Ja or Na,” “Jong,” “Thang or Tham” and “Tha.” Furthermore, there are also other five technical strategies; namely, “Teed,” “Taling,” “Krod,” “Joh,” and “Thad.” The difference of Thon Rammana sonic quality consists in four intrinsic factors: drum shape, type of membrane, attachment materials and membrane tenseness, along with four extrinsic factors: climate, drum tuning, the ability of “hand-compression” while hitting the drum and how drums are maintained before and after playing. In addition to the sonic quality study, the harmony of Thon Rammana, theoretically speaking, when the sounds of “Ting” and “Tham” are tuned, is ideally as “perfect fifth.”

Published

2015-05-25

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article