แนวคิดเรื่อง ทาง: เอกลักษณ์ในสังคีตลักษณ์ไทย

Authors

  • ชยุติ ทัศนวงศ์วรา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จรัญ กาญจนประดิษฐ์

Keywords:

ทาง, สังคีตลักษณ์, วงดนตรีไทย, Taang, Musical form, Traditional Thai music ensemble

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นการชี้ประเด็นและขยายประเด็น และตั้งคำถามกับแนวคิดเรื่อง ทาง ในดนตรีไทย ซึ่งเป็นประเด็นศึกษาที่มีความสำคัญสำหรับการเรียนและการสืบทอดดนตรีไทย โดยศึกษาประเด็นเรื่องทางจากทัศนะของอาจารย์มนตรี ตราโมท ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาดนตรีไทยเชิงวิชาการ โดยอาจารย์มนตรีให้อรรถาธิบายเรื่องทางไว้ในลักษณะการจำแนกลักษณะสามประการ อันประกอบด้วย ทางสำหรับเครื่องดนตรี ทางจากผู้ประพันธ์เพลง และทางที่เป็นกลุ่มแนวเสียงสำหรับเพลงไทย จากการขยายประเด็นเรื่องทาง ผู้ศึกษาพบว่าประเด็นดังกล่าวตามที่อาจารย์มนตรี ตราโมทให้ทัศนะไว้มีความครอบคลุมในเบื้องต้น ทว่ายังมีรูปแบบของทางที่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อสังคีตลักษณ์ไทยในระดับอื่นลึกลงไป นอกจากเครื่องดนตรีที่สามารถประดิษฐ์ทางของตนเองในลักษณะทางเครื่องแล้ว เมื่อดนตรีวางอยู่บนรากฐานของการบรรเลงประสมวง ผู้ศึกษาย่อมเห็นประเด็นสำคัญเรื่อง ทางสำหรับวงดนตรีด้วย การปรากฏเรื่องทางสำหรับวงดนตรีนี้เป็นเรื่องที่คิดต่อยอดจากการแนวคิดเรื่องทางเครื่องของอาจารย์มนตรี ตราโมท แต่มีมิติที่แตกต่างหลากหลาย และส่งผลต่อรูปแบบการประกอบสร้างทางเสียงดนตรีที่แตกต่างของวงดนตรีไทยแต่ละประเภท ทั้งนี้มีองค์ประกอบหลักในการแบ่งจำแนกเอกลักษณ์ของทางสำหรับวงดนตรีไทย 3 ประการ คือ สำนวนของทำนองแปร แนวการบรรเลง และการตีความเพลง

 

Abstract

         The article aims to point out and clarify on the ultimate issue of traditional Thai music particularly, focusing on the concept of Taang. The concept is a significant point for studying and music transmission. For this concept is built on the previous concepts which theorized by Mister Montri Tramote, he was a pioneering distinguish scholar for traditional Thai music in academic. Mr. Tramote suggested that the word Taang in music directly refers to variation melodies, composer’s styles, and musical keys.   Development of the concept of Taang found that-the Taang could be deeply inscribed as an ensemble’s character. An idea of the ensemble’s character influences musical form in depth. Although, each variation melody style is based on the character of instruments, while players create variation melody must inevitably consider an ensemble’s character as well. A clarification of the concept of Taang is based on Mr. Tramote’s concept. Furthermore, this article originally introduced Taang in different idea regarding structuralizing soundscape, form, and analysis. Therefore the concept of Taang is definitely elaborated as 3 components namely variation melody design, beating time, and music interpretation.

Downloads

Published

2020-06-29

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article