การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
Keywords:
วัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่, รัฐชาน, สาธารรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, Culture of Tai Yai Music, Shan State, Republic of the Union of MyanmarAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมดนตรีของชาวไทใหญ่ในเมืองสำคัญของรัฐชาน 4 เมืองคือ เมืองจ๊อกแม เมืองสีป่อ เมืองตองยี และเมืองเชียงตุง
จากการวิจัยด้านพิธีกรรมความเชื่อพบว่า พิธีกรรมไหว้ครูสุรสติจะคงลักษณะของการเป็นพิธีกรรมสืบทอดดนตรีของศิลปินเฉพาะในเมืองที่ลิเกจ้าดไตรุ่งเรืองคือ เมืองสีป่อและเมืองจ๊อกแม เนื่องจากศิลปินลิเกจ้าดไตเคร่งครัดในการประกอบพิธีกรรมนี้ในแนวทางดั้งเดิม
การวิจัยเรื่องกลองก้นยาว กลองมองเซิง และเครื่องสาย พบว่าในพื้นที่วิจัยนั้น กลองก้นยาวและกลองมองเซิงใช้บรรเลงประสมวงร่วมกับมองและฉาบใหญ่ ส่วนเครื่องสายนั้นพบเครื่องดนตรีตอยอฮอร์น ใช้บรรเลงประสมในวงดนตรีประกอบการแสดงจ้าดไต เครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้ได้รับความนิยมในเมืองตอนเหนือของรัฐชานได้แก่ เมืองสีป่อ และเมืองจ๊อกแม มากกว่าอีกสองเมือง
การศึกษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่าของชาวไทใหญ่ พบว่าเครื่องตีที่นิยมได้แก่ มองแคงหรือฆ้องแผง มองแวงหรือฆ้องวง ปัตตะนาซึ่งคล้ายระนาดเหล็กของไทย เช่าลงปั๊ดหรือกลองชุด และ
จีฮอกแส่งอันเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของไทใหญ่ไม่ปรากฏในพื้นที่ของรัฐชานในการเก็บข้อมูลครั้งนี้
ABSTRACT
This is a comparative research of musical culture of Tai Yai in 4 major cities in Shan State; Kyaukme, Hsipaw, Taunggyi, and Kengtung.
The research findings on rituals and beliefs show that the ritual Wai Kru Surasati remains strong and maintains its services as the artists’ musical transmission ritual only in Kyaukme and Hsipaw where Jat Tai performance prospers, since Jat Tai artists strictly perform the ritual in its original ways.
The study on Glong Kon Yao, Glong Mong Seung, and stringed instruments show that in the research areas, Glong Kon Yao and Glong Mong Seung are played with Mong and big cymbals. Stringed instrument found in the areas is Tor Yor horn which is used to play in Jat Tai musical band. The three musical instruments, Glong Kon Yao, Glong Mong Seung, and Tor Yor horn are more popular in Hsipaw and Kyaukme, cities in the northern part of Shan State.
Concerning Tai Yai’s percussion instruments and wind instruments, it is found that the popular percussion instruments are Mong Khaeng, a panel gong; Mong wang, a circle gong; Patana, an instrument similar to Thai iron xylophone; Chao Long Pat, a set of drums; and Gee Hok Saeng, a rhythm marker. No Tai Yai’s wind instrument is found in Shan state of this fieldwork.
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น