ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: “คีตคณิตแห่งแสง” สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา

ผู้แต่ง

  • ธัญวรรษ สนธิรัตน คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทประพันธ์เพลง, แสง, การสะท้อนแสง, การหักเหแสง, การเลี้ยวเบนแสง

บทคัดย่อ

          บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : คีตคณิตแห่งแสง สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตราเป็นบทประพันธ์เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลักษณะทางกายภาพของแสงหรือการกระเจิงของแสง ซึ่งหักเหเข้าดวงตามนุษย์ทำให้สามารถมองเห็นวัตถุ สีสัน รูปทรงได้ โดยตีความเสียงจากแสงผ่านหลักการทางดนตรีและประพันธ์ขึ้นสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา ที่มาจากความสัมพันธ์ของคลื่นแสงและความถี่เสียงสามารถนำเสนอให้อยู่ในหลักการทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้น แสงและเสียงจึงมีความสัมพันธ์ที่ประพันธ์เป็นเพลงได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอดงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากการคิดค้นแปรค่าคลื่นแสงกับความถี่เสียงของนักวิทยาศาสตร์หลายคน และต่อยอดผลงานประพันธ์เพลงที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องแสงจากนักประพันธ์อีกหลายคนเช่นเดียวกัน บทเพลงนี้แบ่งเป็น 3 กระบวน โดยนำเสนอตามลักษณะของแสงอันได้แก่ การสะท้อนแสง การหักเหแสงและการเลี้ยวเบนแสง มีความยาวประมาณ 30 นาที ใช้นักดนตรีทั้งหมด 14 คน ในการบรรเลงบทเพลงนี้มีการสื่อความระหว่างความเข้มเสียงกับความเข้มแสงเป็นหลัก มีลักษณะเด่นคือการใช้เทคนิคการบรรเลงของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้สื่อออกมาตามการตีความลักษณะของ แสงตามการวิจัยในงานฉบับนี้ จากการศึกษาวิจัยทั้งเรื่องของแสง ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ และงานประพันธ์ ดั้งเดิมของดนตรี บทประพันธ์ชิ้นนี้ได้นำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของงานวิจัย มาถ่ายทอดเป็นงานประพันธ์เพลง โดยหวังว่าจะสามารถสร้างเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

_________. อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงประพันธ์โดยณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร.กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553.

โรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม. “แสงและการมองเห็น.” http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/Light.htm.

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์. “การกระเจิงของแสง.” http://www.lesa.biz/earth/atmosphere/phenomenon/scattering.

Fiorenza, N. A. “Planetary Harmonics & Neurobiological Resonances in Light, Sound, & Brain Wave Frequencies: Including the translation of sound to color.” https://www.lunarplanner.com/Harmonics/planetary-harmonics.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย | Research Article