การศึกษาจฺยามกลุ่มชาติพันธุ์มอญ

Authors

  • สกลพัฒน์ โคตรตันติ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มานพ วิสุทธิแพทย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รุจี ศรีสมบัติ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ชาติพันธุ์มอญ, จฺยาม, ดนตรีมอญ, Mon Ethnic, Chyam, Mon music

Abstract

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเรื่อง การศึกษาจฺยามกลุ่มชาติพันธุ์มอญเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของจฺยามและศึกษาการบรรเลงจฺยามในกลุ่มชาติพันธุ์มอญ กำหนดพื้นที่วิจัยในชุมชนมอญในประเทศไทย ชุมชนมอญชายแดนไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและชุมชนมอญในรัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยตามแนวคิดของฟราน โบแอส ผลการวิจัยพบว่าเครื่องดนตรีจฺยามมีความเป็นมาจากตำนานความรักของเจ้าชายกับเจ้าหญิงสองเมืองที่มีแม่น้ำกั้นกลางและมีจระเข้อาศัยอยู่มาก เจ้าชายใช้จระเข้เป็นพาหนะในการไปพบเจ้าหญิง วันหนึ่งจระเข้นั้นถูกทำร้ายจากจระเข้อื่นจนตายและทำให้เจ้าชายที่หลบอยู่ในปากสิ้นพระชนม์ไปด้วย ชาวมอญยกย่องเคารพบูชาจระเข้ที่มีความซื่อสัตย์และเสียสละ จึงสร้างเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเป็นรูปจระเข้ในวัฒนธรรมดนตรีมอญและถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ การศึกษาการบรรเลงจฺยามกลุ่มชาติพันธุ์มอญพบว่า ชุมชนมอญชายแดนไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและชุมชนมอญในรัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา บรรเลงโดยดำเนินทำนองทั้ง 3 สาย มีการใช้กลวิธีการสะบัด การปริบ การโปรยและการขยี้ บทเพลงที่ใช้ได้แก่ เพลงซโมยบ๊อบโทว เพลงป๊าละหยายมัว เพลงท้ามละโหยบ๊อบโทว เพลงจ๊าวบ๋านัวและเพลงเย็นสะม้ายซ่าววะนะเพิ่ง ส่วนการบรรเลงจฺยามชุมชนมอญในประเทศไทยนิยมบรรเลงด้วยสายเอกเป็นหลัก ใช้สายทุ้มเป็นสายกระทบ ไม่นิยมใช้สายลวดและกลวิธีพิเศษ เพลงที่ใช้ได้แก่ เพลงเจิกมัว เพลงโปดเซ และเพลงสีนวล

 

Abstract

           The study of Chyam in Mon ethnic groups is qualitative research aiming at the study of the derivation as well as the playing of this musical instrument among the ethnic groups. The area of research covered Mon communities in Thailand, in the border region of Thailand, and in Republic of the Union of Myanmar. This study was conducted by The Franz Boas methodology.

            From the research we found that the musical instrument called chyam in a such ethnic group is originated from the “love myth of the prince and the princess” who separated apart by a river with plenty of crocodiles. The prince who hid himself in the crocodile mouth to see princess. One day the crocodile was attacked to death which caused the prince to pass away in this tragedy. Therefore, the Mon has worshiped a crocodile in accordance with the legend of honesty and sacrifice. Hence, they created a musical instrument resembling the crocodile shape in their culture, and which is considered as their national musical instrument. The results of this research, show that the playing of chyam at the Mon communities between the border region of Thailand also in Mon state in Republic of the Union of Myanmar indicates the use of three string in their melodies, including which the techniques of: sabat, prip, proy and kayee. The songs used were Smoiboptho, Palayaimua, Thamlahoiboptho, Chaobanua and Yensamai-Saowanaphoeng. In concrost, The playing of chyam in Thailand is mainly played on one string (sai-ele) , While the second string (sai-thum) makes the krathop sound. The use of the special techniques and the metal string (sai-luat) are not favorable. The songs used were Choekmua, Potse and Sinoun.

Downloads

Published

2020-06-29

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article