การศึกษาวิชาปฏิบัติเครื่องตี (ปี่พาทย์) ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจากอดีตสู่ปัจจุบัน

Authors

  • สุธินันท์ โสภาภาค

Keywords:

ปี่พาทย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, pipat, Nakhon Pathom Rajabhat University

Abstract

บทนำ

            มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2479 มีชื่อว่าโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม โดยรับเฉพาะนักเรียนหญิงฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2479 มีชื่อว่าโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม โดยรับเฉพาะนักเรียนหญิงฝึกหัดครู ต่อมาเปิดรับนักเรียนฝึกหัดชายและเปิดสอนระดับประกาศนียบัตร ในปีพ.ศ. 2503 เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม ต่อมาปีพ.ศ. 2513 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวิทยาลัยครูนครปฐม ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่าสถาบันราชภัฏ จึงได้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เริ่มรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตครูคืนสู่ท้องถิ่น มีทั้งสาขาวิชาครุศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์ และสายศิลปศาสตร์ ต่อมาได้ปรับปรุงหลักสูตรพร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างหมวดการศึกษาทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีคณะที่เปิดสอนทั้งหมด 5 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะพยาบาลศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2519 โดยการปรับเปลี่ยนโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศิลปศึกษา ดนตรี และนาฏศิลป์ รวมเข้าด้วยกัน “แต่เดิมใช้คำว่าโปรแกรมต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้คำว่าสาขา สาขาของเรา สาขาวิชาดนตรีศึกษาเป็นสาขาหนึ่งที่อยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดสอนทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530”   ขณะนั้นมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิลปชัย กงตาล เป็นประธานสาขาเป็นคนแรก คณะอาจารย์ประจำสาขาทั้งหมด 4 คน ดนตรีไทย 2 คน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา ด่านประดิษฐ์ (ถึงแก่กรรม) และผู้ช่วยศาสตราจารย์การุณ ด่านประดิษฐ์ ดนตรีสากล 2 คน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิลปชัย กงตาล และอาจารย์สมิต วิสุทธิเดช สาขาวิชาดนตรีศึกษาออกงานดนตรีรับใช้สังคมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ทั้งงานในมหาวิทยาลัยและงานนอกมหาวิทยาลัย ดนตรีไทยเริ่มมีบทบาททางสังคม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา ด่านประดิษฐ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์การุณ ด่านประดิษฐ์ ต่อมาเปิดรับอาจารย์ประจำ อาจารย์พรรณรพี บุญเปลี่ยน อาจารย์พิทักษ์ (ไม่ทราบนามสกุล;ถึงแก่กรรม) อาจารย์สรายุทธ์ โชติรัตน์ และอาจารย์สุธินันท์ โสภาภาค ตามลำดับ และมีผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย คืออาจารย์มีกิจ อินทร์พิพัฒน์ อาจารย์ไพรัช ดำรงกิจถาวร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ ในส่วนของดนตรีสากลเปิดรับอาจารย์ประจำ อาจารย์อัญชนา สุตมาตร ผู้ช่วยศาตราจารย์จักษ์ จินดาวัฒน์ อาจารย์วรชิน มั่งคั่ง อาจารย์ศราวุธ วิวรรณ อาจารย์อรรณพ เรืองมณี อาจารย์อานนท์ ห่อสกุลสุวรรณ และอาจารย์สิรภพ สิทธิ์สน อาจารย์พิเศษได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิลปชัย กงตาล และอาจารย์หินวิมาน ฉุยน้อย รวมอาจารย์ประจำสาขาวิชาทั้งหมด 11 คน อาจารย์พิเศษ 5 คน สาขาดนตรีศึกษามีนักศึกษาเรียนร่วมกันโดยไม่แยกวิชาเอกมาตลอด เมื่อปีพ.ศ. 2542 มีแนวคิดการจัดรูปแบบโปรแกรมวิชาออกเป็น 2 โปรแกรม เพื่อทำหน้าที่สร้างบัณฑิตทางดนตรีสายตรง ได้แก่ โปรแกรมดนตรีไทย และโปรแกรมดนตรีสากล และในปีพ.ศ. 2554 - 2555 โปรแกรมวิชาดนตรีได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาดนตรีศึกษา ซึ่งเริ่มจัดการเรียนการสอนในปี 2555 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 7 ปี โดยได้ผลิตบัณฑิตที่มี ศักยภาพพร้อมทำงานในประชาคมอาเซียน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อารยธรรมทวารวดี และเป็นคำตอบของท้องถิ่นในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ตามแนวทางของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Downloads

Published

2019-12-24

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article