การศึกษานาฏยลักษณ์การรำเดี่ยวเชิดฉิ่งของตัวนาง กรณีศึกษาอาจารย์นพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม
Keywords:
รำเดี่ยว, นาฏยลักษณ์, รำเชิดฉิ่ง, solo dance, cherd-chingAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวม ประวัติ ความเป็นมา องค์ประกอบการแสดง วิธีการแสดง ของการรำเดี่ยวเชิดฉิ่งตัวนาง และเพื่อศึกษาวิเคราะห์นาฏยลักษณ์ในการรำเดี่ยวเชิดฉิ่งตัวนาง ลักษณะเฉพาะของอาจารย์นพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม โดยศึกษากระบวนท่ารำจำนวน 6 ชุด คือ เชิดฉิ่งศุภลักษณ์ เชิดฉิ่งเมขลา เชิดฉิ่งเบญกาย เชิดฉิ่งนางดาว เชิดฉิ่งสีดาผูกศอ และเชิดฉิ่งสีดาลุยไฟ คณะผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูล สัมภาษณ์บุคคล สังเกตการณ์ การทดลองปฏิบัติ การบันทึกข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูล และนำเสนอผลการวิจัย พบว่า เพลงเชิดฉิ่ง คือเพลงหน้าพาทย์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในหมวดหมู่ของเพลงเชิด นิยมบรรเลงประกอบการแสดง ใช้ประกอบกิริยาการรำที่เป็นเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของตัวละคร มุ่งเน้นศิลปะการร่ายรำที่งดงาม เพื่ออวดฝีมือของตัวละคร นาฏยลักษณ์การรำเดี่ยวเชิดฉิ่งตัวนาง ในรูปแบบของอาจารย์นพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม มีโครงสร้างท่ารำประกอบสร้างขึ้นมาจากท่ารำแม่บท และท่ารำที่คิดประดิษฐ์ขึ้น มีขั้นตอนการรำ 3 ขั้นตอน คือ 1.การเกริ่นนำ 2.การรำเพลงเชิดฉิ่ง 3.การรำเพลงเชิดหรือเชิดกลอง โดยในขั้นตอนที่ 2 ปรากฏท่ารำที่เป็นท่ารำหลักในการรำเชิดฉิ่ง 9 ท่า คือ 1.ท่าเยื้องกราย 2. ท่าสอดสร้อยแล้วป้องหน้า 3.ท่าภมรเคล้า 4.ท่านางนอนสลับมือ 5.ท่ากังหันร่อน 6.ท่าแผลงศรสลับจีบยาว 7.ท่าโก่งศิลป์ 8.ท่าฟ้อนใน และ9.ท่านภาพร ลักษณะสำคัญการรำเชิดฉิ่งของอาจารย์นพรัตน์ศุภาการ ได้แก่ 1.การใช้ร่างกายส่วนขา ตัว แขนและศีรษะให้สัมพันธ์กัน 2.คำนึงถึงบทบาทของตัวละครนั้น ๆ อยู่เสมอ 3.ผู้แสดงต้องคำนึงถึงจังหวะฉิ่งตลอด 4.ผู้แสดงต้องมีกำลังขาที่แข็งแรง
Abstract
The purpose of this research is to study and collect the data of the history, background, element of the performance and the method of Cheud-ching solo dance in female. The second purpose is to analyze the dance identity in solo dance of Cheud-ching from Nuparassuphakarn Vangnaitham. The scope of the study was the movement of Cheud-ching in female incloud Cheud-ching-Supalak, Cheud-ching-Mekkhala, Cheud-ching-Benyakay Cheud-ching-Nangdao, Cheud-ching-Sida-phuksor and Ched-ching-Sida-Luifai. The research use qualitative research method by collecting the data from document, interview with the expert in dance and music, observation, practicing the movement, data recording, information verification, data analysis, summarizing the information and presenting the research results.
The result of the study found that Cheud-ching song is one of Phleng-nah-Phat that included in the category of Phleng-Cheud. This song usually played as a performance. It always use for the movement that is an important situation of the character. The Cheud-ching dance emphasize the beautiful movements to show dance skill. Cheud-ching-Tua-Nang the solo dance in female identity of Nuparassuphakarn Vangnaitham style have the structure of movement from Ram-mae-bot and also new creation movement, which consist of three steps: (1) introduction, (2) Cheud-ching dance movement, and (3) Ched song or Ched-Klong dance movement. The Cheud-ching dance have nine main movements which is Tha-yeungkray, Tha-sodsoy continue to Tha-Phongna,Tha-Phamonklau, Tha-Padnangnon and switching hands, Tha-Kanghanron, Tha-Phaengsorn switching with Tha-chibyaw, Tha-Padnangnon continue to Tha-Kongsil, Tha-Fonnai and Tha-Naphaphorn. The technique of Cheud-ching dance require strong legs and have to enliven the role of each characters, so the dancer know how to express in a realistic performance.
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น