การสร้างแบบฝึกสำหรับผู้เรียนเครื่องดีดไทย กรณีศึกษาเพลงจระเข้หางยาว สามชั้น ทางครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล

Authors

  • ประชากร ศรีสาคร

Keywords:

การพัฒนาทักษะ, การบรรเลงจะเข้, จระเข้หางยาว, ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล, Jakhe’s Musical Playing, Jorakhe-Hang-Yao, Chidpong Songsermvorakul

Abstract

 บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง “การสืบทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพลงจระเข้หางยาว สามชั้น ทางครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล เพื่อใช้พัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้ขั้นต้น โดยศึกษาการผูกสำนวนกลอนจะเข้ เม็ดพรายที่ปรากฏ และการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์เพลงไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์ บันทึกโน้ต ค้นคว้างานวิจัย บทความ ตำรา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งการสังคีตลักษณ์วิเคราะห์เพลงไทยใช้แนวคิดของพิชิต ชัยเสรี บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง “การสืบทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพลงจระเข้หางยาว สามชั้น ทางครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล เพื่อใช้พัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้ขั้นต้น โดยศึกษาการผูกสำนวนกลอนจะเข้ เม็ดพรายที่ปรากฏ และการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์เพลงไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์ บันทึกโน้ต ค้นคว้างานวิจัย บทความ ตำรา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งการสังคีตลักษณ์วิเคราะห์เพลงไทยใช้แนวคิดของพิชิต ชัยเสรี ผลการวิจัยพบว่า เพลงจระเข้หางยาว สามชั้น ทางครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล มีการผูกสำนวนกลอนจะเข้อย่างเป็นระเบียบ และมีความสัมพันธ์กับทำนองหลัก อีกทั้งยังปรากฏเม็ดพราย ดังนี้ 1. การรัว 2. การสะบัดเสียงเดียว 3. การสะบัดกล้ำเสียง และสังคีตลักษณ์เพลงไทยที่ปรากฏ ดังนี้ 1. แบบแผนท่วงทำนองของบทเพลง ก/ ข/ ค/ ท่อน 1 และ 2 เมื่อจบท่อนเสียงใด กลับต้นจะเท่ายืนเสียงเสียงนั้น 2. จังหวะฉิ่งอัตราจังหวะ สามชั้น และจังหวะหน้าทับปรบไก่ สามชั้น 3. ทางเสียงที่ปรากฏ ท่อน 1 ทางเพียงออบน ท่อน 2 และ 3 ทางชวา อีกทั้งยังปรากฏการผูกสำนวนกลอนตามแนวทางของครูระตี วิเศษสุรการ ภายในบทเพลง

Abstract

This article is a part of the research named “Jakhe Performance Skill Transmission by Kru Chidpong Songsermvorakul.” The aim was to improve the practical skill in preliminary stage of Jakhe playing by going through the Jorakhe Hang-Yao Sam Chan, which was performed under Kru Chidpong Songsermvorakul’s performing style. The harmoniously designed melody of Jakhe, the distinctive embellishment and Thai Musical form analysis were in focus. This qualitative research integrated all data from participant observation, interview, musical notes, related researches, journal papers, text books, documents and the concept of Thai musical forms by Pichit Chaisaree.  This research revealed the harmoniously designed melody of the Jorakhe Hang-Yao Sam Chan, which was performed under Kru Chidpong Songsermvorakul’s performing style, had been well-regulated and conformed with the main melody. The embellishments was disclosed as 1) Trill (Rua). 2) One-pitch triple. 3) Two-pitch triple. Thai musical form analysis was exposed that 1) The melodic forms were A/ B/ C/. The still-stand melodic repetition from the ending note in part 1 and 2.  2) Cymbal Rhythmic Pattern for the Third Variation, Ching Sam-Chan; and Drum Rhythmic Pattern for the Third Variation, Na-Tap-Prob-Kai-Sam-Chan. 3) Music Scale: Part 1 - Thaang Pieng Or Bon; Part 2 and 3 -Thaang Java. Furthermore, the harmoniously designed melody according to the musical movement by Kru Ratee Wisetsurakarn is also being found.

Downloads

Published

2019-03-07

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article