การถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์

Authors

  • รณฤทธิ์ ไหมทอง

Keywords:

การถ่ายทอด, การบรรเลง, ระนาดเอก, บุญธรรม คงทรัพย์, Transmission, Performance, Ranad Ek, Boontham Khongsap

Abstract

 บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องและวิธีการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ผลการวิจัยพบว่า ครูบุญธรรม คงทรัพย์ ได้รับการถ่ายทอดเริ่มแรกจากบิดา จากนั้นได้ศึกษาด้านดนตรีไทยต่อกับครูสาลี่ มาลัยมาลย์ และครูเจียน มาลัยมาลย์ ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักพาทยโกศล จนทำให้เป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีไทยท่านหนึ่ง อีกทั้งฝีมือในการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ เป็นที่เลื่องลือมากโดยเฉพาะการบรรเลงเพลงเรื่องนางหงส์ ทำให้ได้รับฉายาว่า “บุญธรรมระนาดกำแพงเมืองจีน” การถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ พบว่า ท่านจะให้ความสำคัญในเรื่องพื้นฐานและการฝึกฝนมากที่สุด เพราะหากมีพื้นฐานที่ดีแล้วจึงจะสามารถบรรเลงระนาดเอกได้ทุกรูปแบบ ในการถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์นั้น จะเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียงระนาดเป็นสำคัญ โดยการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ต้องตีระนาดให้เสียงที่ออกมามีความหนักแน่นและชัดเจนเพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำในวงปี่พาทย์และสามารถคุมวงได้ ลูกศิษย์ที่เคยได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ 1. ครูมนัส จันทร์ชื่น 2. ครูชลอ แสงม่วง 3. ครูปราศรัย พรหมจิตต์ 4. ครูกิตติศักดิ์ อยู่สุข  งานวิจัยเรื่องการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องและวิธีการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ผลการวิจัยพบว่า ครูบุญธรรม คงทรัพย์ ได้รับการถ่ายทอดเริ่มแรกจากบิดา จากนั้นได้ศึกษาด้านดนตรีไทยต่อกับครูสาลี่ มาลัยมาลย์ และครูเจียน มาลัยมาลย์ ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักพาทยโกศล จนทำให้เป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีไทยท่านหนึ่ง อีกทั้งฝีมือในการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ เป็นที่เลื่องลือมากโดยเฉพาะการบรรเลงเพลงเรื่องนางหงส์ ทำให้ได้รับฉายาว่า “บุญธรรมระนาดกำแพงเมืองจีน” การถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ พบว่า ท่านจะให้ความสำคัญในเรื่องพื้นฐานและการฝึกฝนมากที่สุด เพราะหากมีพื้นฐานที่ดีแล้วจึงจะสามารถบรรเลงระนาดเอกได้ทุกรูปแบบ ในการถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์นั้น จะเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียงระนาดเป็นสำคัญ โดยการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ต้องตีระนาดให้เสียงที่ออกมามีความหนักแน่นและชัดเจนเพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำในวงปี่พาทย์และสามารถคุมวงได้ ลูกศิษย์ที่เคยได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ 1. ครูมนัส จันทร์ชื่น 2. ครูชลอ แสงม่วง 3. ครูปราศรัย พรหมจิตต์ 4. ครูกิตติศักดิ์ อยู่สุข 

Abstract

            Dissertation, “Transmission of Ranad Ek Performance by Kru Boontham Khongsap” focused on related information of Ranad Ek performance style and how Kru Boontham Khongsap passed knowledge and experiences on his students. The study found that Kru Boontham had been firstly trained to play Thai classical music by his father at his young age, then continued learning with Kru Salee Malaimarn and Kru Jian Malaimarn who both were disciples at Pattayago-son, Thai traditional music family. With this learning and training leaded Kru Boontham to be one of Thai classical music masters. Moreover, he later gained widely reputations as a talented musician at playing Ranad Ek especially performing Nang Hong song and later, he was given a name "Boontam, the Great Chinese Wall Ranad". The finding underlined that paying attention at fundamental and hard training considered as the most important parts of his lesson. He believed that the good basic led musicians to be able playing Ranad Ek in any several styles. To pass skill on his students, he purposefully focused on quality of Ranad sound which had to be expressed as much as strong volume and clear sound to be able functioning as a major sound and a leading instrument as well as control other elements in PiPhat Ensemble. Lastly, disciples who were taught directly by Kru Boontham and still alive are 1. Kru Manas Chanchuen 2. Kru Chalor Saengmoung 3. Kru Prasai Promchit and 4. Kru Kittisak Yoosook.

Downloads

Published

2019-12-24

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article