หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยจากศิลปินต้นแบบตัวนางสู่นวัตกรรมการสร้างสรรค์รำเดียวมาตรฐาน
Keywords:
รำเดี่ยวมาตรฐาน, ตัวนาง, นาฏยประดิษฐ์, ศิลปินต้นแบบ, solo dance, female dancers, choreography, model charectersAbstract
บทคัดย่อ
โครงการวิจัย เรื่อง “หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยจากศิลปินต้นแบบตัวนางสู่นวัตกรรมการสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาหลักนาฏยประดิษฐ์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐานตัวนางจากศิลปินต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับชาติ และนำหลักการฯ มาสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐานตัวนางชุดใหม่ ผนวกรวมกับการเลือกสรรนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการแสดงมาช่วยส่งเสริมในด้านองค์ประกอบการแสดง วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1. วางแผนโครงการวิจัยและเสนอขออนุมัติโครงการ 2. ดำเนินการเก็บข้อมูลด้านเอกสาร และการสัมภาษณ์ 3. วิเคราะห์หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยประเภทรำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง 4. สร้างสรรค์ชุดการแสดงรำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนางชุดใหม่จากหลักการที่ได้วิเคราะห์มา 5. นำเสนอผลการวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบการสัมมนาระดับชาติ/ เวทีแสดงผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ 6. สรุปผลการวิจัยเป็นรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และ 7. เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีผู้ประเมิน โครงการวิจัย เรื่อง “หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยจากศิลปินต้นแบบตัวนางสู่นวัตกรรมการสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาหลักนาฏยประดิษฐ์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐานตัวนางจากศิลปินต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับชาติ และนำหลักการฯ มาสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐานตัวนางชุดใหม่ ผนวกรวมกับการเลือกสรรนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการแสดงมาช่วยส่งเสริมในด้านองค์ประกอบการแสดง วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1. วางแผนโครงการวิจัยและเสนอขออนุมัติโครงการ 2. ดำเนินการเก็บข้อมูลด้านเอกสาร และการสัมภาษณ์ 3. วิเคราะห์หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยประเภทรำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง 4. สร้างสรรค์ชุดการแสดงรำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนางชุดใหม่จากหลักการที่ได้วิเคราะห์มา 5. นำเสนอผลการวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบการสัมมนาระดับชาติ/ เวทีแสดงผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ 6. สรุปผลการวิจัยเป็นรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และ 7. เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีผู้ประเมิน ผลการวิจัยพบว่า หลักนาฏยประดิษฐ์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐานตัวนางประกอบด้วยหลักสำคัญ ดังนี้ 1. คัดเลือกตัวโขนหรือตัวละครที่จะสร้างสรรค์รำเดี่ยวมาตรฐาน โดยพิจารณาจากบทบาทตัวโขนหรือตัวละครที่เคยออกแสดง มีความโดดเด่น และได้รับความนิยม 2. ศึกษาชาติกำเนิด ภูมิหลัง อุปนิสัย บุคลิกลักษณะของตัวโขนหรือตัวละครจากบทประพันธ์ 3. ประพันธ์บทร้องหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประพันธ์บทร้อง และบรรจุเพลง 4. สร้างสรรค์ท่ารำโดยใช้ท่ารำมาตรฐานเป็นหลัก แล้วเพิ่มเติมท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ รวมทั้งการใส่จริตกิริยาและการแสดงอารมณ์ 5. ออกแบบการใช้พื้นที่บนเวที เน้นความสมดุลของการใช้พื้นที่บริเวณจุดกึ่งกลางเวทีเป็นหลัก 6. ทดลองรำและพิจารณาแก้ไขท่ารำให้กลมกลืนต่อเนื่อง 7. ออกแบบท่ารำให้มีความกลมกลืนกับการใช้อุปกรณ์และฉาก 8. คัดเลือกผู้แสดงที่มีรูปพรรณสัณฐาน บุคลิกภาพและมีความสามารถตรงตามบทบาทรวมทั้งฝึกซ้อมและอธิบายกลวิธีในการแสดงให้แก่ผู้แสดงอย่างครบถ้วน ผู้วิจัยได้ทดลองออกแบบการแสดงรำเดี่ยวมาตรฐานชุด “แก้วกินนรชมไพร” ตามหลักการที่ได้รับจากศิลปินต้นแบบ ซึ่งเป็นบทบาทของนางแก้วกินนร โดยนำภูมิหลังและเค้าโครงการแสดงมาจากนางกินรีในละครในเรื่อง อุณรุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผสมผสานกับจินตนาการและหลักการสร้างสรรค์ในรูปแบบของการรำเดี่ยว ซึ่งเป็นการแสดงรำเดี่ยวประเภทชมสถานที่ที่ต้องอาศัยการออกแบบสร้างสรรค์ท่ารำให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับฉากและนวัตกรรมต่าง ๆ ในการแสดง ท่ามกลางการรักษาไว้ซึ่งขนบจารีตแบบละครใน เพื่อเป็นบทพิสูจน์หลักการฯ ว่าสามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ และสามารถนำไปขยายผลเป็นหลักนาฏยประดิษฐ์ให้แก่นาฏยศิลป์ไทยในรูปแบบอื่น ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์หลักการและสรุปผลในรูปแบบงานวิจัยเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงเชิงวิชาการต่อไป
Abstract
The objective of the “Thai choreography principles: from the female model characters to the innovation of the Thai royal solo dance” research project is to derive Thai choreography principles: from the female model characters to the The objective of the “Thai choreography principles: from the female model characters to the innovation of the Thai royal solo dance” research project is to derive Thai choreography principles: from the female model characters to the innovation of the Thai royal solo dance and to employ those principles in the creation of a new set of female model characters as well as to select the appropriate innovation that is consistent with the performance congruent with the components of the performance. The research methodology consists of 1. Research planning and seeking approval for the project 2. Gathering of data both documental and interviews 3. Analyzing Thai choreography principles from the solo dance female model characters deriving from the analysis 4. Creating a new Thai royal solo dance with female model characters based on the principles of such analysis. 5. Presenting the results of the research and the innovative creation in the form of a seminar at the national level/ an arena show casing innovative work at the international level 6. Concluding the results of the research in the form of a final and complete final research report and 7. Publicizing the research as a research article with peer review at the national level. The research finds that in Thai choreography principles of Thai royal solo dance of female model characters comprise the following characteristics 1. Masked play or royal solo dance characters are selected from those performed in theaters that were not only remarkable but also well-received by audiences. 2. The origins, backgrounds, and attributes of the characters are analyzed from the corresponding novels or poems. 3. The lyrics composition and music selection for the plays are carried out based on advice from experts. 4. The main dance patterns are designed based on royal solo dance patterns before the specific dance moves, manner, and emotional expressions are added. 5. The stage utilization design emphasizes balance as well as maintaining presence in the center of the stage. 6. The dance patterns are tried out before being modified to enhance flow and continuity. 7. The dance patterns also take into consideration prop and setting utilization. 8. Performers are selected based on their external appearances, personality traits, and performing abilities in relation to those required by the characters. To ensure proficiency in portraying those characters, the performers receive intensive training. The researcher has experimented with designing the “Kaew Kinnorn Chomprai” standard solo dance in accordance with the principles adopted from the original artist playing the role of Nang Kaew Kinnorn.The plot and background are taken from Nang Kinnaree in “Unnarut” a royal composition drama of King Putthayodfah Chulalok (Rama I) and combined with imagination and the creative principles in the form of a solo dance.The solo dancing features the gestures of admiration of place which require well designed dance gestures that offer a good blending with the backdrop and various performance innovations while at the same time preserving the conventions of the lakhon nai. This proves that such principles may be put to use in actual practice and can also be extended to the principles of other forms of Thai choreography. Furthermore, it is possible to analyze these principles and derive certain conclusions in the form of a research work that may be used for academic reference in the future.
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น