ดนตรีหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา : ความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน

Authors

  • ไชยวุธ โกศล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Keywords:

ดนตรีหนังตะลุง, จังหวัดสงขลา, ความเปลี่ยนแปลง, Nang-talung music, Songkhla province, Change

Abstract

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบดนตรีหนังตะลุงแบบดั้งเดิมและแบบปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการวิจัยในระหว่างปี พ.ศ. 2555 –2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา เก็บข้อมูลโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการบันทึกการแสดงหนังตะลุง สัมภาษณ์นายหนังตะลุงและลูกคู่หนังตะลุงในจังหวัดสงขลา ผลการวิจัยพบว่าดนตรีหนังตะลุงในจังหวัดสงขลามีการเปลี่ยนแปลงซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1) ดนตรีหนังตะลุงรูปแบบดั้งเดิม ประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลัก คือ โหม่ง ฉิ่ง กลองและแตระ บทเพลงที่ใช้ใช้เพลงทับเป็นหลัก 2) ดนตรีหนังตะลุงสมัยกลางใช้เครื่องดนตรีแบบที่เรียกว่าเครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ โหม่ง ฉิ่ง กลอง ทับ แตระ บทเพลงที่บรรเลงใช้เพลงปี่เป็นหลัก และ 3) ดนตรีหนังตะลุงแบบสมัยปัจจุบันใช้ดนตรีสากลผสมกับดนตรีเครื่องห้าแบบสมัยกลาง บทเพลงที่ใช้มีทั้งบทเพลงหนังตะลุง เพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่งและเพลงสตริง สาเหตุที่ทำให้ดนตรีหนังตะลุงมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความพยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเป็นการปรับเปลี่ยนตามความนิยมของผู้ชมที่เปลี่ยนจากกลุ่มผู้ใหญ่มาเป็นกลุ่มวัยรุ่น

Abstract

 

This article had taken from part of an analysis study of Nang-talung music between old and present style. This research was a qualitative research, conducted during 2012-2015. The research aimed to study the changing of Nang-talung music, based on its ensemble and musical repertoires. Data had collected from both document research and fieldwork by interview of puppeteers and Nang-talung’s musicians in Songkhla province. The results had shown that Nang-talung music can divided into 3 period; the old period, the middle period, and the present period. During the old period the ensemble had combined with thap, klongtook, mong, ching, and trae. While during middle period the pi had been added to the  This article had taken from part of an analysis study of Nang-talung music between old and present style. This research was a qualitative research, conducted during 2012-2015. The research aimed to study the changing of Nang-talung music, based on its ensemble and musical repertoires. Data had collected from both document research and fieldwork by interview of puppeteers and Nang-talung’s musicians in Songkhla province. The results had shown that Nang-talung music can divided into 3 period; the old period, the middle period, and the present period. During the old period the ensemble had combined with thap, klongtook, mong, ching, and trae. While during middle period the pi had been added to the ensemble, and western instruments had added into the ensemble during present period. Musical repertoires in old period were taken from Thai traditional song, and some  musical pieces were special tune for Nang-talung only. While in middle period the pieces  from Look-thung music had been played, and for present period the tune were taken from Thai popular music. The reason why Nang-talung music has changed is because of the adaptation effort to survive. The change is based on the popularity of the audience who change from adult to teenager.

Downloads

Published

2018-10-17

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article