วิเคราะห์การใช้โพรมโรวของอาร์โนลด์ โซนเบิร์ก ในสวีทสำหรับคลาเวียร์ ลำดับที่ 25

Authors

  • แขไข ธนสารโสภิณ

Keywords:

วิเคราะห์, โน้ตแถวหลัก, อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก, สวีทสำหรับคลาเวียร์ ลำดับที่ 25, Analysis, Prime Row, Arnold Schoenberg, Suite for Klavier Op. 25

Abstract

บทคัดย่อ

สวีทสำหรับคลาเวียร์ ลำดับที่ 25 เป็นผลงานชิ้นสำคัญลำดับแรก ๆ ของอาร์โนลด์ โชนเบิร์ก ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ระบบดนตรีแบบแถวโน้ตสิบสองเสียง ซึ่งถือเป็นระบบทางดนตรีที่สำคัญ ระบบหนึ่งในยุคศตวรรษที่ยี่สิบ โดยบทความนี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์เฉพาะการใช้  สวีทสำหรับคลาเวียร์ ลำดับที่ 25 เป็นผลงานชิ้นสำคัญลำดับแรก ๆ ของอาร์โนลด์ โชนเบิร์ก ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ระบบดนตรีแบบแถวโน้ตสิบสองเสียง ซึ่งถือเป็นระบบทางดนตรีที่สำคัญ ระบบหนึ่งในยุคศตวรรษที่ยี่สิบ โดยบทความนี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์เฉพาะการใช้ ไพรมโรวในแต่ละท่อนทั้งหมด 6 ท่อน ได้แก่ Praludium, Gavotte, Musette, Intermezzo, Menuet และ Gigue จากบทประพันธ์เพลงดังกล่าว ซึ่งผลของการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ว่า โชนเบิร์กใช้โน้ตแถวหลักหรือไพรมโรวเดียวกันในช่วงต้นบทประพันธ์ทุกท่อน และมีลักษณะในการใช้ คือ แบ่งโน้ตในแถวทั้ง 12 ตัว ออกเป็นเททราคอร์ด 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว โดยเขาใช้ทีละเททราคอร์ด จนครบ 3 กลุ่ม เพื่อให้ครบทั้งแถวโน้ตหลัก อย่างไรก็ตามยังมีการใช้แถวโน้ตหลักในรูปแบบอื่นในบทประพันธ์อีกด้วย

Abstract

Suite for Klavier, Op. 25 is one of Arnold Schoenberg’s earliest works showing the use of twelve-tone row, a significant music system in the 20th century. The scope of this article was limited to the use of prime row in 6 movements: Praludium, Gavotte, Musette, Intermezzo, Menuet, and Gigue. According to the analysis, it could be concluded that the composer used the same prime row at the beginning of every movement. Then, he divided the twelve notes into 3 groups of tetrachords with 4 notes per group and used each group of them in order to complete the whole set of notes in the row. However, the use of prime row in different orders was also presented in the composition.

Downloads

Published

2019-03-07

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article