การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์

Authors

  • ยงยุทธ เอี่ยมสอาด

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรี, การเรียนปฏิบัติดนตรี, มัธยมศึกษาตอนปลาย, Curriculum development in music skill, The practical lesson of music skill, High School Grade 12

Abstract

 บทคัดย่อ

            การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าวิจัย  เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์  และศึกษาประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์  จากการศึกษาค้นคว้าโดยการรวบรวมเอกสารตำราวิชาการและการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  วิชาเอกดุริยางคศิลป์  ได้ผลสรุปดังนี้การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าวิจัย  เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์  และศึกษาประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาเอกดุริยางคศิลป์  จากการศึกษาค้นคว้าโดยการรวบรวมเอกสารตำราวิชาการและการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  วิชาเอกดุริยางคศิลป์  ได้ผลสรุปดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรี ซึ่งในรายวิชาทักษะดนตรีนั้น ยังต้องแยกเครื่องมือออกเป็น 13 ชนิด  ได้แก่  เปียโน (Piano)  ขับร้อง (Vocal)  ไวโอลิน (Violin)  วิโอล่า (Viola)  เชลโล่ (Cello)  ดับเบิ้ลเบส (Double Bass)  แซกโซโฟน (Saxophone)  ฟลูต (Flute)  คลาริเน็ต (Clarinet)  ทรัมเป็ต (Trumpet)  กีตาร์คลาสสิก (Classical Guitar)  กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) และกลองชุด (Drum) ผลของขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้  นักเรียนทุกคนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะต้องเรียนการปฏิบัติเครื่องดนตรีที่ตนเองเลือก 1 ชิ้น  และเรียนต่อเนื่อง 6 ภาคการศึกษา ซึ่งในแต่ละภาคการศึกษานักเรียนจะได้เรียนปฏิบัติเครื่องดนตรีเดี่ยวกับอาจารย์เฉพาะทางแต่ละเครื่องมือ โดยหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีได้พัฒนาการเรียนการสอน เนื้อหา และบทเพลงในการสอนให้เหมาะสมกับพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน โดยทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรี เป็นผู้จัดการวัดผลปลายภาคในรูปแบบของการแสดงดนตรี (Recital) จากการทดลองนำหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีไปทดลองใช้ พบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 19 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)  ร้อยละ 42.11 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในเกณฑ์ที่ดี โดยได้คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความพึงพอใจในสภาพปัจจุบัน/ความเป็นจริงต่อสภาพที่พึงประสงค์/ที่ควรเป็นของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยหลักสูตรวิชาทักษะดนตรีเอกดุริยางคศิลป์ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน  ได้แก่  ด้านอาจารย์ผู้สอนทักษะดนตรี  ด้านตัวผู้เรียนรายวิชาทักษะดนตรี    ด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อรายวิชา  และด้านโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา  โดยส่วนมากนักเรียนมีความคาดหวังต่อสภาพที่พึงประสงค์มากกว่าสภาพปัจจุบัน

Abstract

            Development of music curriculum for High School Grade 12 Student Majoring in Music Purposes of study were as follows :Development of music curriculum for High School Grade 12 Student Majoring in Music Purposes of study were as follows : 1.  To improve the school curriculum for students majoring in music 2.  To study the efficiency of the newly implemented music curriculum for students majoring in music From the reviews of academic literature regarding music ability of High School Grade 12 student whose major subject was music showed that the curriculum development in music ability subjects still had to be classified into 13 instruments including Piano, Vocal, Violin, Viola, Cello, Double bass, Saxophone, Flute, Clarinet, Trumpet, Classical Guitar, Electric Guitar and Drum.  The steps of enhancing the curriculum consisted of High School Grade 10-12 students had to choose 1 main musical instrument and practiced the instrument for 6 semesters.  In each semester, students would learn and practised the self chosen instrument with the teacher specialized in that specific instrument.  The lessons and songs were specially developed and were flexible in order to meet the students’ abilities.  The Board of Music Program was responsible for evaluating the students’ performance through the recital.   From the result of the study, the 19 target High School Grade 12 students from Sinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (secondary) 42.11% of had received appreciable academic performance in music subjects, which had the average GPA of 3.50 and above. 
            Moreover, by comparing the satisfaction of the real conditions to the ideal conditions, students who had experienced new-developed music curriculum were prone to be keener on the ideal conditions.  The conditions included 4 aspects: the instructors, the students, the environment, and the curriculum.

Downloads

Published

2019-12-24

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article