การแสดงขับร้องโดย ชัยพร พวงมาลี

Authors

  • ชัยพร พวงมาลี

Keywords:

การแสดงขับร้อง, ชัยพร พวงมาลี, Vocal Recital, Chaiporn Phuangmalee

Abstract

 บทคัดย่อ

            การแสดงขับร้องครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการถ่ายทอดบทประพันธ์เพลงคลาสสิกในรูปแบบหลากหลายภาษา และยุคสมัยของคีตกวีชาวตะวันตก ผ่านการประยุกต์เทคนิคการขับร้องของนักร้องชาวตะวันตกผสมผสานให้เข้ากับกายภาพและลักษณะของนักร้องชาวเอเชียให้สามารถถ่ายทอดศักยภาพในการขับร้องโดยมีแบบฉบับเฉพาะตัวของนิสิต อีกทั้งเป็นการแสดงศักยภาพการจัดเตรียมการแสดงอย่างเป็นมืออาชีพ อาทิ การรังสรรค์บทประพันธ์ให้เชื่อมโยงถักทอเนื้อหาให้เป็นเรื่องเดียวกัน การเตรียมการจัดการสถานที่รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชม การเตรียมการจัดทำโปสเตอร์และสูจิบัตรการแสดงรวมถึงการวางแผนงานในการฝึกซ้อมกับนักดนตรีผู้ร่วมแสดง

            การแสดงขับร้องในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 17:30 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง 54/1 สุขุมวิทซอย 3 (ซอยนานา) กรุงเทพมหานคร โดยมีระยะเวลาในการแสดงประมาณ 1 ชั่วโมงรวมเวลาพักครึ่งของการแสดงในการแสดงครั้งนี้มีนักแสดงร่วมการแสดง ได้แก่ นายมรกต เชิดชูงาม นักเปียโน และนายธนภัค พูนผลผู้บรรเลงฮอร์น

            บทเพลงที่ใช้ในการแสดงมีทั้งบทประพันธ์ประเภท เพลงร้องศิลป์ ชุดเพลงร้องที่ถูกขับร้องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และบทประพันธ์ประเภทอาเรีย (Aria) จากมหาอุปรากรสำคัญ โดยบทประพันธ์ทั้งหมดได้ถูกร้อยเรียงเสมือนเป็นเนื้อเรื่องเดียวกันในแง่มุมของความหมาย ตั้งแต่เริ่มต้นการแสดงจนกระทั่งสิ้นสุดการแสดง การแสดงประกอบด้วยบทประพันธ์เพลงร้อง 3 ภาษา ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาเลียน จำนวนทั้งสิ้น 4 บทเพลง

            ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ผู้วิจัยได้เรียนรู้ และพัฒนาทักษะด้านการขับร้องได้อย่างถูกวิธี ทำให้นักร้องสามารถเรียบเรียงกระบวนการฝึกซ้อมได้อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเทคนิคการร้องเพลงที่เป็นธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เรียนรู้วิธีการค้นคว้าข้อมูลบทประพันธ์ในเชิงลึกเพื่อนำมาปรับใช้กับการแสดงได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน อีกทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมการแสดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมสถานที่ การบริหารเวลาการฝึกซ้อมกับนักดนตรี และยังเป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมการขับร้องแบบชาวตะวันตกสู่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยอีกด้วย

Abstract

            The vocal recital is aimed to propagate the music composition pieces in traditional of varieties of languages and many different eras of music culture in western countries.  In which the performer uses the vocal styles and technique from westerners interweaving with Asia's physical to convey performer's specific potential and singing style. This developing technique illustrates how well the performer's organisation the performance in a professional way. For example, how to create the list of music compositions that connects as a story through the meanings that suits the performer in terms of vocal and styles, the preparation of venue and facilities management for the audience, how to manage the posters, the program book, and the rehearsals with the other musicians within the performance.

            The performance took place on Tuesday, March 6, 2018, at 7.30 pm. at Thongsuang Recital Hall 54/1 Sukhumvit 3 (Soi Nana) Bangkok. The vocal recital last proximate 1 hour including intermission which consists Mr. Morakot Cherdchoo-ngarn as a pianist and Mr. ThanapakPoonpol as a hornist.

            Selected pieces in this recital worked by the idea of variety in the different styles including
art songs, song cycle, Aria, in 3 languages; there are English, French and German. All of the musical numbers are set into one storyline from the beginning till the end. It consists of 6 pieces, separated into
13 movements including;

            The results of this research led researchers to learn and to improve their singing skills properly. The singer can compile the training process in steps. This method helps improving singing technique in a very natural way. In addition, the researcher learned how to research the music in depth to be applied to the show accurately and clearly, and also learned about the preparation of the show effectively. Whether it is to prepare a place, the rehearsal schedule with musicians. It also promotes and conserves western culture to the people in Thailand.

Downloads

Published

2019-12-24

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article