การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย วงดาว วัชรานันท์

Authors

  • วงดาว วัชรานันท์
  • ดวงใจ ทิวทอง

Keywords:

เทคนิคการขับร้อง, การวิเคราะห์ตีความเพลงขับร้อง, การแสดงขับร้องคลาสสิก, วงดาว วัชรานันท์, Vocal techniques, Analysis and interpretation of vocal piece, Classical vocal, Wongdao Vajaranant

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเทคนิคการขับร้องและวิเคราะห์ตีความบทเพลง Johnny เพื่อการถ่ายทอดการแสดงขับร้องบทเพลง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบแนวทางการฝึกซ้อมและเรียนรู้เทคนิคของบทเพลง โดยการวิเคราะห์ ตีความ และศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ  งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเทคนิคการขับร้องและวิเคราะห์ตีความบทเพลง Johnny เพื่อการถ่ายทอดการแสดงขับร้องบทเพลง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบแนวทางการฝึกซ้อมและเรียนรู้เทคนิคของบทเพลง โดยการวิเคราะห์ ตีความ และศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การร้องของบทเพลงนี้ ซึ่งเป็นบทเพลงร้องประเภทเพลงร้องเดี่ยวจากชุดเพลงร้อง “The Cabaret” ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษนาม เอ็ดเวิร์ด เบนจามิน บริทเทน (1913 – 1976) และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ สรุปผลการวิจัยพบว่า การขับร้องเพลงคลาสสิกของช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่มีการผสมผสานการร้องลักษณะละครเวที กล่าวคือ มีการใช้เสียงเต็มในช่วงเสียงกลาง และต่ำมากกว่าเพลงร้องคลาสสิกทั่วไป รวมถึงการตีความบทเพลงที่มีอารมณ์ที่ตัดกันถึง 5 ส่วนในเพลงเดียว อันมีองค์ประกอบทางดนตรีเป็นเอกลักษณ์เพลงเต้น และเพลงพื้นบ้านในแต่ละส่วน นำไปสู่การถ่ายทอดบทเพลงด้านน้ำเสียง และอารมณ์ที่แตกต่าง ได้แก่ สนุกสนาน ตื่นเต้น พลุ่งพล่าน รักใคร่ และหดหู่ เมื่อขับร้องด้วยความเข้าใจเหล่านี้ ในการแสดงขับร้องเดี่ยวระดับมหาบัณฑิต การแสดงขับร้องเพลงบทนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ชม และคณะกรรมการ ผ่านการประเมินการแสดงในระดับดีมาก ด้านเทคนิค การแสดง และวรรณกรรม

Abstract

The study of Vocal Techniques, Analysis and Interpretation for Vocal Performance of “Johnny”, aimed to create the model for vocal training and vocal practice by analysis, interpreted and studied the song and background. This song was the solo piece from the song cycle “The Cabaret”, composed by Edward Benjamin Britten (1913 – 1976) and also used in completing my thesis. Result of the research showed that the song of the early 20th century period was different from the standard classical vocal repertoires because it combined the Chest-tone in low and middle vocal range from musical theatre technique. Moreover, Johnny combined five various emotions which had the unique elements of European Dances and Folk music in one single piece which led to the clear interpretation to express the tone of the voice and changing of emotions as follow; fun, excitement, agitation, romance and despair. It was one of the song for the Master Vocal Recital and was well received by the audience and the committee, with the very good evaluation in vocal techniques, performance and literature.

Downloads

Published

2019-03-07

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article