หลักการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน

Authors

  • นริศรา - พันธุ์ธาดาพร คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขำคม พรประสิทธิ์, รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การแปรทางจะเข้, การแปรทางซออู้, เพลงทยอยเขมร สามชั้น, รองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, Melodic Variation for Jakhay, Melodic Variation for Saw-u, Thayoi Khmer Samchan, Associate Professor Pakorn Rodchangphuen

Abstract

          งานวิจัยเรื่อง หลักการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ผู้วิจัยตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือเพื่อศึกษาหลักการทั่วไปสำหรับการแปรทำนองของจะเข้และซออู้ และเพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะในการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

            ประการแรกหลักการทั่วไปในหลักการแปรทำนองจะเข้ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนปรากฏ 13 หลักการ
มีลักษณะสำคัญคือ การเพิ่มพยางค์เสียงต่าง ๆ เข้าไปในทำนองเพลง ส่วนการแปรทำนองของซออู้ ปรากฏ 8 หลักการ มีลักษณะสำคัญคือ ลักษณะทำนองฝากลูกตกไปห้องถัดไป ประการที่สอง ลักษณะเฉพาะการแปรทำนองจะเข้ปรากฏ 4 หลักการ มีลักษณะที่โดดเด่นคือ การดีดสายลวดสลับกับสายเอกในลักษณะที่เป็นการย้ำเสียงเดียวกัน ส่วนการแปรทำนองของซออู้ปรากฏ 4 หลักการ มีลักษณะที่โดดเด่นคือ การสีสะบัดสลับกับการสีลักคันชัก ซึ่งหลักการทั่วไปและหลักการเฉพาะในการแปรทำนองจะเข้และซออู้ในเพลงทยอยเขมร สามชั้นของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนในครั้งนี้ ปรากฏการแปรทำนองจะเข้และซออู้โดยยึดทำนองหลักในการแปรทำนองของทั้งสองเครื่องโดยขึ้นอยู่กับความสะดวกและความโดดเด่นในการบรรเลงของทั้งสองเครื่อง

The study of Principles of Melodic Variation for Jakhay and Saw-u in Thayoi Khmer Samchan by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen had two objectives, which were to study general principles of melodic variation for Jakhay and Saw-u and to study specific principles of melodic variation for Jakhay and Saw-u in Thayoi Khmer Samchan by Associate Prefessor Pakorn Rodchangphuen. The results of the study were as follows:

            The general principles of melodic variation for Jakhay by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen had 13 principles. The notable characteristic was the increasing of syllable sounds in the songs’ melody. Moreover, the melodic variation for Saw-u had 8 principles. The notable characteristic was the melody that its rhythm fell into the next block. The specific principles of melodic variation for Jakhay had 4 principles. The notable characteristic was the switched playing of wire string and main string to repeat the same sound. Furthermore, the melodic variation of Saw-u had 4 principles. The notable characteristic was the switched playing between the fiddle bow. The study of both general and specific principles of melodic variation for Jakhay and Saw-u in Thayoi Khmer Samchan by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen indicated that melodic variation for Jakhay and Saw-u depending on the convenience and the outstanding ability in playing these two instruments.

Downloads

Published

2017-12-30

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article