วิธีการบรรเลงเครื่องสายผสมออร์แกน วงบางขุนพรหมใต้
Keywords:
เครื่องสายผสม, สำนวนกลอน, ออร์แกน, บางขุนพรหมใต้, Thai string ensemble, organ, Bang Khun Phrom TaiAbstract
งานวิจัยเรื่องการศึกษาวิธีการบรรเลงวงเครื่องสายผสมออร์แกน วงบางขุนพรหมใต้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ ศึกษาประวัติการประสมวง ศึกษาเครื่องดนตรีออร์แกน (Organology) และวิธีการบรรเลง จากการศึกษาพบว่า วงบางขุนพรหมใต้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อตั้งโดยครูชิต แฉ่งฉวี หลังจากครูชิต แฉ่งฉวีถึงแก่กรรม ครูเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ (ศิลปินแห่งชาติ) รับตำแหน่งหัวหน้าวงบางขุนพรหมใต้ มีสมาชิกในวง 8 ท่าน มีผลงานการบรรเลงออกอากาศและบันทึกเสียงของครูประสิทธิ์ ถาวร วิธีการบรรเลงออร์แกนจะบรรเลงในลักษณะการเล่นแบบคู่ 8 อย่างระนาดเอก การดำเนินทำนองจะยึดการบรรเลงของซอด้วงเป็นหลักและจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องนำหน้า วิธีการพับสามารถทำได้โดยคนเดียวและสองคน ซึ่งมีระเบียบวิธีที่ผู้เก็บต้องทราบขั้นตอนการปฏิบัติ วงบางขุนพรหมใต้มีบทเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของวง 3 เพลงคือ เพลงวายุบุตรยาตรา เถา เพลงลาวสมเด็จ เถา และเพลงพราหมณ์ดีดน้ำเต้า เถา สำนวนกลอนที่ปรากฏรวมทั้ง 3 เพลงจำนวน 12 สำนวน ได้แก่ สำนวนการยืนเสียง สำนวนการใช้เสียงชิดข้าม สำนวนกึ่งเก็บกึ่งทำเสียงยาว สำนวนจาว การซ้ำสำนวน สำนวนการลักจังหวะในทำนองเพลง สำนวนการลงจบก่อนหมดจังหวะ สำนวนการเคลื่อนที่ของทำนองที่สวนทางกัน สำนวนการใช้เสียงชิด สำนวนกลอนย้อนตะเข็บ สำนวนการแปรลูกเท่า และการทอนสำนวน
This article aims to study performance techniques of Bang Khun Phrom Tai's Thai String Ensemble combined with Organ. The objectives are threefolded : first it aims to study the history related to the ensemble and the performing techniques. The result of reseach findings indicated that Bang Khun Phrom Tai's Thai String Ensemble combined with Organ was originated during the reign of King Rama VII and it was established by Khru Chit Chaengchawee. After Khru Chit's death, Khru Benjarong Thanakoses acted as the ensemble leader with 8 members. The ensemble works included broadcasting for entertainment and recording participation with Khru Prasith Thavorn.The performing techniques of playing the organ were found in charactristics of performing octave like Ranad-Ek, strictly using the performing of Saw-Duang as main melodies. Bang Khun Phrom Tai Ensemble possessed three unique songs of Wayubutr Tao, Lao Somdej Tao and Bhram Deet Namtao Tao.
An analysis of three repertoires showed distinctive twelve stylistic melodic lines including tonic emphasis (yuen siang), alternative from high notes to bass notes (chit kham), while semi-tapping and semi-lengthening the notes (kueng keb kueng tam siang yao), thin texture (chao), repeating melodies (sum), synchopation (lug jung wa), ending before the downbeat (long job korn mod jung wa), melody moving in reverse directions (tam nong suan tang gun), playing adjacent notes (siang chit), restrospecting melodies (yon ta keb), variation (prae luk tao) and shortening the melodies (torn sum nuan).
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น