การบูรณาการสอนวิชาการละครสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาวิชาการของเด็กและเยาวชนในชุมชน
Keywords:
การบูรณาการสอน, การบริการวิชาการ, การละครสำหรับเด็กและเยาวชน, ละครเพื่อการศึกษา, Integration of Teaching, Academic Service, Children Theatre, Theatre-in-EducationAbstract
บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิธีการบูรณาการการสอนวิชาละครสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน โดยใช้นิสิตวิชาเอกการละคร สาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 6 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
แผนการสอนวิชาละครสำหรับเด็กและเยาวชน หนังสือนิทาน แบบสำรวจข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า 1.การให้นิสิตลงพื้นที่เก็บข้อมูลและทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน โดยเน้น
ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เป็นวิธีการบูรณาการการสอนที่สามารถบริการวิชาการสังคมได้ 2. การจัดกิจกรรมการเล่านิทานและการแสดงละครช่วยให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของคุณธรรม และจริยธรรม รวมถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัยในขณะที่ชมละคร 3. ได้ผลงานการเล่านิทาน 6 เรื่อง การแสดงละครนิทานเด็ก 6 เรื่อง และละครประเด็นศึกษา 2 เรื่อง การศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนพัฒนาขึ้นจากการนำองค์ความรู้ของวิชาการละครสำหรับเด็กและเยาวชนมาสร้างสรรค์ผลงานทางด้านการแสดงละครที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ซึ่งวิธีการนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เพื่อการบริการวิชาการสำหรับชุมชนและสังคมต่อไปได้
The objective of this study is to investigate the optimum integral methodology of children theatre and teaching plan to develop children and young adults in the local area arranged by target group of six sophomores who studied performing arts, Faculty of Fine Arts, Thaksin University. The tools of the study are consisted of lesson plans of children theatre, story books, and questionnaires.
It is found that to construct creative activities collaborated with the local people’s needs can be an integral methodology to contribute an academic service to the society. Besides, storytelling, children theatre and theatre-in-education can help the audiences to learn more and better understand about morals and desired behaviors related to their age ranges. As well as this, there have been products created by those targeted sophomores as followed: six story telling activities, six playwrights of children theatre, and two playwrights of theatre-in-education based on the needs of the audiences and community. Finally, the study of this integral methodology, which has been developed from the theory of children theatre and social needs, can be utilized as a lesson plan for academic service in the future
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น