การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) ร่วมกับการใช้เครือข่ายสังคม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) ร่วมกับการใช้เครือข่ายสังคม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียน วิธีดำเนินการวิจัยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 4 กิจกรรม นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสม จากนั้นนำไปหาประสิทธิภาพกับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีพัทลุง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( 12x"> ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และหาประสิทธิภาพจากสูตร E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีพัทลุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้หน่วย การสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ และแบบบันทึกภาคสนาม แบบแผนการวิจัยคือ 0ne Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( 12x"> ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้มีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามอย่างหลากหลาย ขั้นที่ 2 วางแผนหาคำตอบ ขั้นที่ 3 ค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 4 สะท้อนความคิดอย่างสร้างสรรค์ ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 6 ขยายขอบเขตความรู้และความคิด และ ขั้นที่ 7 นำไปปฏิบัติจริง โดยนำเครือข่ายสังคมเข้ามาร่วมในการจัดการเรียนรู้ในขั้นหนึ่งขั้นใดขึ้นกับความเหมาะสมของกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 12x"> =4.51 และ S.D. = 0.55) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.09/76.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( 12x"> =16.86 และ S.D. = 3.00) สูงกว่าก่อนเรียน ( 12x"> = 10.57 และ S.D. = 2.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยนักเรียนสามารถตั้งปัญหา คิดหาคำตอบ นำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อแก้ปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่พบด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีขั้นตอนและไม่เหมือนใคร โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์