ปฐมบทแห่งการป้องกันตัว

Main Article Content

ภิญโญ โชติรัตน์

บทคัดย่อ

การป้องกันตัวเป็นสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอดของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างมนุษย์และสัตว์  เนื่องจากมนุษย์มีร่างกายที่อ่อนแอกว่าสัตว์ทำให้ต้องใช้ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และกายมากขึ้นในการดำเนินชีวิตส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับธรรมชาติ  ขัดแย้งกับพืชและสัตว์ที่เป็นอาหาร  ขัดแย้งกับพืชและสัตว์ที่เป็นศัตรูและขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง  ด้วยเหตุที่ความขัดแย้งนี้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตทำให้เกิดการกระทำเพื่อเอาชนะความขัดแย้ง  มนุษย์จึงเริ่มเรียนรู้และฝึกฝนทักษะอันเกิดจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวในการเอาตัวรอดในฐานะผู้ถูกล่า ต่อมาจึงเริ่มมีการประยุกต์ทักษะต่างๆมาใช้เป็นวิธีการต่อสู้ และสร้างกลยุทธ์ในการต่อสู้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว  ดังนั้นศิลปะการต่อสู้จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติส่งผลให้ศิลปะการต่อสู้แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันโดยเฉพาะท่วงท่าในการต่อสู้ที่ถูกคิดค้นโดยปรมาจารย์ผู้เป็นต้นตำรับของศาสตร์นั้น ซึ่งเหตุแห่งการต่อสู้เกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีจุดสิ้นสุดส่งผลให้การต่อสู้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน  การขจัดมิให้เกิดการต่อสู้กันต้องขจัดที่เหตุคือความต้องการอันก่อให้เกิดการขัดแย้งกับสิ่งต่างๆที่นำไปสู่ความทุกข์

Article Details

บท
บทความวิจัย