การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

นวลใย สุทธิพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และหาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและ                      ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร 2) การสร้างหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ 4) การปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเคียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558  จำนวน 40 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (Pretest - Posttest Control Group Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตร คู่มือครู แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิต และแบบบันทึกผลสะท้อนการเรียนรู้ ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความสอดคล้อง โดยมีค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา             รายข้ออยู่ที่ระหว่าง .83 –1.00 และค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ .96 ส่วนแบบประเมินทักษะชีวิตมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .78 - .88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test) 

   ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหาและเวลา การจัดกิจกรรม                การเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงแบบมีส่วนร่วมทั้งในและนอกโรงเรียน สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งหลักสูตรมีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 คะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตของกลุ่มทดลองหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่า พัฒนาการพฤติกรรมทักษะชีวิตของนักเรียนกลุ่มทดลองมีแนวโน้มสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ในครั้งสุดท้าย

Article Details

บท
บทความวิจัย